เอามาบันทึกไว้ครับว่ารายการ Daily $90K Sat ได้อันดับที่ 16739
หวังว่าถ้ามีโอกาสหน้าจะทำได้ดีขึ้น ^^
พอดีผมหาข้อมูลต่างๆของ Stanley Druckenmiller แล้วเจออันนี้ครับ สรุปมาเป็นข้อๆเลย น่าจะเหมาะกับการนำไปเป็นไอเดียได้
*ข้อมูลเก่านิดนึงนะครับ
Fund or affiliation
Methodology
Research Techniques Employed
Trading Techniques Employed
Philosophy and beliefs
History and other facts
Examples
Performance Record
คือผมสนใจความคิดของ Soros มาระยะนึงแล้ว ตอนอ่าน the new paradigm for financial market และบทความต่างๆ ผมก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่
อาจจะเพราะเป็นทั้งภาษาและเป็นแนวคิดที่ต่างจากเศรษฐศาสตร์ในตำราทั่วไปหรืออะไรก็แล้วแต่
ตอนนี้ผมคิดว่าความเข้าใจของผมน่าจะมีเพิ่มขึ้นมาบ้าง จึงอยากจะถามดูครับว่าผมเข้าใจถูกต้องรึเปล่า และเข้าใจในระดับไหน
อย่างแรกเรื่องคือ ตลาดไม่มีความสมบูรณ์แบบ เนื่องมาจากตลาดเคลื่อนไหวจาก action ของคน และคนมีการรับรู้ที่ผิดพลาดอยู่แทบจะตลอดเวลา
ในบางกรณีเช่นความคาดหวังต่ออนาคต มันเป็นการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่มีอะไรบ่งบอกได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่จะขึ้นนั้นต้องเป็นผลรวมมาจาก action ของคนทุกๆคน
ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีใครที่จะรู้ว่าคนทุกๆคนจะทำอะไร อาจจะมีบ้างที่มีกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสามารถชี้นำได้ แต่ไม่ทั้งหมด
จากการรับรู้ที่ผิดเพี้ยนส่งผลให้เกิด action ที่ผิดเพี้ยนเช่นกัน ดังนั้นตลาดจึงเกิดภาวะฟองสบู่เป็นระลอกๆ อยู่ที่ว่าจะเป็นฟองสบู่ในรอบเล็กๆเช่นระยะปี หรือรอบใหญ่ๆเช่นระยะสิบๆปี โดยฟองสบู่ที่ใหญ่เป็นการสะสมความผิดพลาดต่างๆจากเล็กๆ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง มันจึงสะสมเป็นลูกใหญ่
ในระยะยาวจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อ ราคา วิ่งหนี ปัจจัยพื้นฐานไปมากๆ จะต้องมีการปรับสมดุลเกิดขึ้น เช่นมีคนรับรู้ความจริงว่าตอนนี้ราคามันเป็นฟองสบู่แล้วก็จะเกิด action สวนทางกลับมายังพื้นฐานของมัน แต่แน่นอนว่าตลาดไม่สมบูรณ์แบบ action อาจจะแรงเกินไปทำให้ลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากเป็นการ action จากคนจำนวนมากที่มีทั้งรู้ข้อมูลจริงและไม่รู้ข้อมูลจริง จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งจะมีคนรับรู้อีกว่า ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน จะมีการ action ย้อนกลับขึ้นไปอีกครั้ง
ส่วน reflexivity ตามความเข้าใจของผมคือ
1.ตลาดสะท้อนปัจจัยและข้อมูลต่างๆออกมา (ซึ่งข้อนี้เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปอยู่แล้ว)
2.ตลาดมีอิทธิพลส่งผลสะท้อนกับไปยังปัจจัยและข้อมูลต่างๆด้วย
จากข้อ2 แปลว่าการรับรู้ของคนเรานั้น(ความคิด) เมื่อไปทำให้ตลาดเกิด action มันจะสามารถสะท้อนไปยังปัจจัยต่างๆ(ความจริง)ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามได้ แม้ว่าจะเป็นการรับรู้มาแบบถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม
เช่นถ้าเกิดราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น มันจะส่งผลมายังผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆอย่างไม่ต้องสงสัย ปัจจัยต่างๆจึงสามารถเปลี่ยนแปลงตามราคาได้
ไม่แน่ใจนะครับว่าผมเข้าใจได้ถูกหรือผิด มากน้อยขนาดไหน แถมไม่รู้ว่าอ่านรู้เรื่องรึเปล่า
คิดว่าพี่ต้านน่าจะเข้าใจแนวคิดต่างๆดี ก็เลยอยากถามว่าระดับความเข้าใจของผมเป็นยังไงบ้างครับ
ใช่เลยครับ นี่คือหัวใจพื้นฐานที่สำคัญของ Reflexivity ซึ่งคนส่วนมากจะมองแค่ข้อ1 ทั้งๆที่ข้อ 2 ก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่นเพราะเรื่องของราคาตลาดมันสามารถสะท้อนมายังพื้นฐานของสินค้าได้เช่นกัน อย่างเช่น ในบลาซิล ตอนพี่ซื้อ-ขาย เอทานอล อยุ่ พอราคา เอทานอลมันพุ่งขึ้น จนเกิดกระแส ผู้คนในวงการเกษตรของบลาซิลต่างก็หาเหตุผลมา support การขึ้นของราคานั้น จนทำให้โรงงานเอทานอลเกิดความโลภอยากกักตุนไว้เพราะอยากได้ราคาสูงๆ สุดท้ายก็ยิ่งส่งเสริมทำให้ราคา เอทานอล ในบลาซิลตอนนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีก จนเกิดฟองสบู่ขึ้นมา หลังจากนี้พอมันสุดโต่งไปมากๆหลายๆคนเริ่ม Realize ก็จะทำให้เกิดการเทขาย เพราะถ้าราคามันแพงไปมากกว่านี้ก็จะมีคนไปนำเอทานอลจากประเทศอื่นเข้ามาขายแทน ทีนี้คนก็เริ่มแห่ขาย พวกโรงงานที่กักตุนไวเริ่มตกใจกลัวว่าตนจะขายได้ราคาไม่ดี ก็พากันขนออกมาขายกันใหญ่ จนราคาในตลาดรองรับ supply ไม่ทันส่งผลให้ตลาดดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ก็อย่างที่น้องปลาหมึกเข้าใจล่ะครับ :)
ผมไม่เชือว่าผมเป็นเพียงคนเดียวที่ไม่สามารถคาดการณ์ราคาในอนาคต ไม่มีใครสามารถคาดการณ์อะไรก็ตามได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุน ถึงอย่างไรก็ตามนักลงทุนหวังหรือเชื่อว่าพวกเขาสามารถที่จะคาดการณ์อนาคตได้ หรืออย่างน้อยต้องมีใครสักคนที่ทำได้. พวกเขาจะจับจ้องว่าคุณจะคาดการณ์เกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคตว่าอย่างไร เราอาศัยความจริงที่ว่านักลงทุนเชื่อมั่นว่าพวกเขาสามารถทำนายอนาคตได้ และผมเชื่อว่านั่นคือที่มาของกำไรของพวกเรา ผมว่านี่มันเป็นเรื่องที่เรียบง่าย
John W. Henry
ตั้งแต่ที่ผมออกแบบลงไปในระบบ Trend Following วิธีการ กลไก และระบบคณิตศาสตร์ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย ระบบยังคงประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมันเป็นเวลากว่า18ปีแล้ว
John W. Henry
ถ้าเราจะหาคำนิยามมาอธิบายปรัชญาการลงทุนของ เฮนรี่ เราคงสรุปได้ว่า “ไม่มีใครบอกอนาคตได้” เฮนรี่นั้นเป็น Trend follower ที่เล่นระยะยาว ปรัชญาในการลงทุนของคือเขาให้ความสนใจพฤติกรรมราคาในตลาด มากกว่าจะมองหามูลค่าพื้นฐานของตลาด กุญแจดอกสำคัญคือข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจลงทุน เขาบอกว่า ตลาดนั้นเต็มไปด้วยความคาดหวังของผู้คนที่อยู่ในตลาด และความคาดหวังนี้ แสดงออกมาเป็นลักษณะการเคลื่อนไหวหรือทิศทางของราคา ทุกวันนี้เราอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เราไม่สามารถบอกอนาคตได้ และในโลกของความไม่แน่นอนนี้ การวิเคราะห์ราคาและทำตามพฤติกรรม( trend following)หรือ ตามทิศทางราคานั้น ๆ ดูจะเป็นเหตุเป็นผลที่สุดในการลงทุนระยะยาว เฮนรี่รู้สึกว่า การใช้กลไลตลาดประเมินตัวมันเองมีคุณค่ามากกว่าการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ การทดสอบที่ใช้อะไรวัดอย่างตายตัวมาประเมินกับการเทรดที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เฮนรี่บอกว่า เมื่อเขาทำการศึกษาตลาดครั้งแรกตอนปี 1970 เขาพยายามหาระบบที่เหมาะกับทุก ๆ สภาพตลาด ซึ่งการศึกษาของเขาพบว่าการลงทุนระยะยาวนั้นเหมาะสำหรับตลาดทุนมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว เราจะมีความรู้สึกหนึ่งที่ครอบงำเราให้ตัดสินใจตรงข้ามกับตลาดเสมอ คือสิ่งที่คนอื่นเรียกว่า “หลีกเลี่ยงความผันผวน” ด้วยการเหมาว่า ความผันผวนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี อย่างไรก็ตามเขาพบว่าการหลีกเลี่ยงความผันผวน นั้นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถจะอยู่ในตลาดในช่วงที่เกิดเทรนด์ระยะยาวได้ ความรู้สึกที่จะป้องกันเงินทุนของเราไว้เป็นต้นทุนที่มหาศาลที่เกิดขึ้นในใจนักเทรดมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว ระบบการลงทุนระยะยาวจะไม่หลีกเลี่ยงความผันผวน เราจะต้องอดทนและผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปให้ได้ ซึ่งจะทำให้เราลดการปิดออร์เดอร์ตอนราคาอยู่กลางเทรนด์เมื่อเกิดเทรนด์ยาว ๆ ได้