ปลาหมึก
คือผมสนใจความคิดของ Soros มาระยะนึงแล้ว ตอนอ่าน the new paradigm for financial market และบทความต่างๆ ผมก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่
อาจจะเพราะเป็นทั้งภาษาและเป็นแนวคิดที่ต่างจากเศรษฐศาสตร์ในตำราทั่วไปหรืออะไรก็แล้วแต่
ตอนนี้ผมคิดว่าความเข้าใจของผมน่าจะมีเพิ่มขึ้นมาบ้าง จึงอยากจะถามดูครับว่าผมเข้าใจถูกต้องรึเปล่า และเข้าใจในระดับไหน
อย่างแรกเรื่องคือ ตลาดไม่มีความสมบูรณ์แบบ เนื่องมาจากตลาดเคลื่อนไหวจาก action ของคน และคนมีการรับรู้ที่ผิดพลาดอยู่แทบจะตลอดเวลา
ในบางกรณีเช่นความคาดหวังต่ออนาคต มันเป็นการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งไม่มีอะไรบ่งบอกได้แน่นอนว่าจะเกิดขึ้น เพราะสิ่งที่จะขึ้นนั้นต้องเป็นผลรวมมาจาก action ของคนทุกๆคน
ซึ่งในความเป็นจริง ไม่มีใครที่จะรู้ว่าคนทุกๆคนจะทำอะไร อาจจะมีบ้างที่มีกลุ่มคนที่มีอิทธิพลสามารถชี้นำได้ แต่ไม่ทั้งหมด
จากการรับรู้ที่ผิดเพี้ยนส่งผลให้เกิด action ที่ผิดเพี้ยนเช่นกัน ดังนั้นตลาดจึงเกิดภาวะฟองสบู่เป็นระลอกๆ อยู่ที่ว่าจะเป็นฟองสบู่ในรอบเล็กๆเช่นระยะปี หรือรอบใหญ่ๆเช่นระยะสิบๆปี โดยฟองสบู่ที่ใหญ่เป็นการสะสมความผิดพลาดต่างๆจากเล็กๆ แต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง มันจึงสะสมเป็นลูกใหญ่
ในระยะยาวจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา เช่นเมื่อ ราคา วิ่งหนี ปัจจัยพื้นฐานไปมากๆ จะต้องมีการปรับสมดุลเกิดขึ้น เช่นมีคนรับรู้ความจริงว่าตอนนี้ราคามันเป็นฟองสบู่แล้วก็จะเกิด action สวนทางกลับมายังพื้นฐานของมัน แต่แน่นอนว่าตลาดไม่สมบูรณ์แบบ action อาจจะแรงเกินไปทำให้ลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานเนื่องจากเป็นการ action จากคนจำนวนมากที่มีทั้งรู้ข้อมูลจริงและไม่รู้ข้อมูลจริง จนเมื่อถึงเวลาหนึ่งจะมีคนรับรู้อีกว่า ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน จะมีการ action ย้อนกลับขึ้นไปอีกครั้ง
ส่วน reflexivity ตามความเข้าใจของผมคือ
1.ตลาดสะท้อนปัจจัยและข้อมูลต่างๆออกมา (ซึ่งข้อนี้เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปอยู่แล้ว)
2.ตลาดมีอิทธิพลส่งผลสะท้อนกับไปยังปัจจัยและข้อมูลต่างๆด้วย
จากข้อ2 แปลว่าการรับรู้ของคนเรานั้น(ความคิด) เมื่อไปทำให้ตลาดเกิด action มันจะสามารถสะท้อนไปยังปัจจัยต่างๆ(ความจริง)ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามได้ แม้ว่าจะเป็นการรับรู้มาแบบถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม
เช่นถ้าเกิดราคาสินค้าชนิดหนึ่งสูงขึ้น มันจะส่งผลมายังผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆอย่างไม่ต้องสงสัย ปัจจัยต่างๆจึงสามารถเปลี่ยนแปลงตามราคาได้
ไม่แน่ใจนะครับว่าผมเข้าใจได้ถูกหรือผิด มากน้อยขนาดไหน แถมไม่รู้ว่าอ่านรู้เรื่องรึเปล่า
คิดว่าพี่ต้านน่าจะเข้าใจแนวคิดต่างๆดี ก็เลยอยากถามว่าระดับความเข้าใจของผมเป็นยังไงบ้างครับ
MudleyGroup
ใช่เลยครับ นี่คือหัวใจพื้นฐานที่สำคัญของ Reflexivity ซึ่งคนส่วนมากจะมองแค่ข้อ1 ทั้งๆที่ข้อ 2 ก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่นเพราะเรื่องของราคาตลาดมันสามารถสะท้อนมายังพื้นฐานของสินค้าได้เช่นกัน อย่างเช่น ในบลาซิล ตอนพี่ซื้อ-ขาย เอทานอล อยุ่ พอราคา เอทานอลมันพุ่งขึ้น จนเกิดกระแส ผู้คนในวงการเกษตรของบลาซิลต่างก็หาเหตุผลมา support การขึ้นของราคานั้น จนทำให้โรงงานเอทานอลเกิดความโลภอยากกักตุนไว้เพราะอยากได้ราคาสูงๆ สุดท้ายก็ยิ่งส่งเสริมทำให้ราคา เอทานอล ในบลาซิลตอนนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีก จนเกิดฟองสบู่ขึ้นมา หลังจากนี้พอมันสุดโต่งไปมากๆหลายๆคนเริ่ม Realize ก็จะทำให้เกิดการเทขาย เพราะถ้าราคามันแพงไปมากกว่านี้ก็จะมีคนไปนำเอทานอลจากประเทศอื่นเข้ามาขายแทน ทีนี้คนก็เริ่มแห่ขาย พวกโรงงานที่กักตุนไวเริ่มตกใจกลัวว่าตนจะขายได้ราคาไม่ดี ก็พากันขนออกมาขายกันใหญ่ จนราคาในตลาดรองรับ supply ไม่ทันส่งผลให้ตลาดดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ก็อย่างที่น้องปลาหมึกเข้าใจล่ะครับ :)
๕ ความคิดเห็น:
ที่พี่พูด
"ส่วน reflexivity ตามความเข้าใจของผมคือ
1.ตลาดสะท้อนปัจจัยและข้อมูลต่างๆออกมา (ซึ่งข้อนี้เป็นที่รับรู้ของคนทั่วไปอยู่แล้ว)
2.ตลาดมีอิทธิพลส่งผลสะท้อนกับไปยังปัจจัยและข้อมูลต่างๆด้วย "
ส่วนตัว ผมสนใจเรื่องราคาตลาด มากครับ(ข้อ1)
ในมุมมองของผม ผมว่ามันสะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนส่วนใหญ่ในตลาด ปัญหามันอยู่ที่ว่า
1.คนส่วนใหญ่ เข้าใจสิ่งที่เห็นและรับรู้ ผิดไป
2.คนส่วนใหญ่ มักจะใช้อารมร์ตามๆกัน มากกว่าเหตุผล
3.ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจถูกและมีเหตุผล แต่คนส่วนมักจะมีกระบวนการตัดสินใจ ต่อปัญหาที่ผิดพลาดอยู่ดี
4.ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจถูก มีเหตุผล และมีกระบวนการตัดสินใจที่ดี คนส่วนใหญ่ ก็ยังจะแพ้อยู่ดีเพราะ คนส่วนใหญ่อิงกับเหตุผล และกระบวนการ จนลืมความจริงที่ว่า ตลาดมันคือเกมส์
หากเปรียบเงินทุน เป็นผู้เล่น เก้าอี้ดนตรี
แล้วเปรียบ พื้นฐานหรือมูลค่าจริงของสิ่งที่เราเข้าไปเล่น เป็นเก้าอี้ ที่มีจำนวนน้อยกว่าผู้เล่นเสมอ
เพราะฉนั้น คนร้องให้ ย่อมมีมาก เสมอ
ขอโทษนะครับพี่ปลาหมึก ผมก็มั่วๆตามความคิดผมไป
คิดอะไรได้ก็อยากจะเล่าบ้างครับ เผื่อพี่จะมีความคิดเห็นสนองกลับบ้างครับ
ยินดีครับ
มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแบบนี้ดีแล้ว ^^
ปล.ผมว่าไม่มั่วนะ
ปล.2 ไม่ต้องเรียกพี่ก็ได้ครับ ผมไม่แน่ใจว่าอายุของผมมากหรือน้อยกว่าใคร เรียกปลาหมึกเฉยๆก็พอครับ ^^
พอดีวันนี้ไปเจอหนังสือเก่าที่ตลาดครับ เกี่ยวกับโซรอสเขียนโดยคนไทย
ตีพิมพ์ปี 2540
(ผมยังอ่านไม่จบเพิ่งเริ่มอ่านเอง)
ในเล่มนี้ใช้คำไทยของ Reflexivity ว่า "ปฏิกิริยาสะท้อนกลับของความคิดกับความเป็นจริง"
โซรอส เชื่อคติของ เรอ เน เดการ์ต ที่ว่า "I think ; therefore I am"
แต่ขยายกว้างกว่าเดิม เป็น
นอกจากคนจะเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เขาคิดแล้ว สิ่งที่คนคิดยังมีส่วนกำหนดความเป็นไปของโลกด้วย
^^
ดีจังเลยครับ
หากผมหาซื้อไม่ได้
วันหลังถ้าคุณปลาหมึกอ่านจบแล้ว
ผมขอคุณปลาหมึก ถ่ายเอกสารด้วยนะครับ
จริงๆเนื้อหาในเล่มไม่ได้มีอะไรมากครับ ^^
ถ้าต้องการเนื้อหาแบบเข้มข้นซื้อหนังสือที่โซรอสเขียนเองดีกว่าครับ แต่จะอ่านยากหน่อย
กว่าผมจะเริ่มมองเห็น reflexivity ข้อที่2 ใช้เวลานานเลยครับ เพราะผมเริ่มต้นมาจากการเน้นดูมูลค่าหุ้น ดีที่ผมไม่ได้กำหนดกรอบให้ตัวเองว่าเป็นสไตล์ไหน เลยเปิดรับความคิดแบบอื่นๆได้ตลอด
แต่ยังไงทั้ง 1 และ 2 สำคัญทั้งคู่ครับ เพียงแต่โดยปกติแล้วไม่มีใครมอง 2 หรือไม่ให้ความสำคัญมากนัก
แสดงความคิดเห็น