วันจันทร์ที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒

Michael Jackson Never Die

ช่วงนี้บรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ต่างๆ ร้านขาย CD รวมไปถึง Online Store อย่าง amazon และ ebay ล้วนคึกคักไปด้วยบรรดา FC ทั้งแท้และเทียมของราชาเพลงป็อปที่ชื่อ Michael Jackson

ข่าวการเสียชีวิตของ Michael Jackson แม้จะเป็นข่าวร้าย แต่ก็มีโอกาสทางการค้าแฝงอยู่ในข่าวร้ายนี้ด้วย

ยกตัวอย่างโดยนำ link นี้มาให้ดู aMuzic Store 
web link นี้เป็น aStore ของ amazon.com อีกทีนึงครับ โดย amazon จะจ่ายค่าคอมให้เจ้าของ aStore

และสินค้าอันดับ 1 ในหมวด music ของ amazon
เท่าที่ผมเห็น อันดับ2 และ อันดับ5 ในหมวดนี้ก็เป็นของ Michael Jackson



ผมคิดว่าอีกหลายร้านค้าออนไลน์คงทำในลักษณะเดียวกันคือนำ page สินค้าที่เกี่ยวกับ Jackson ขึ้นหน้าแรกเพราะในเวลานี้ชื่อของ Jackson ขายได้ทั้งเพลงและของที่ระลึกต่างๆ

คนที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุดคือบรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งถ้าเป็นนักร้องนักแสดงมักจะเป็นต้นสังกัด จนกระทั่งลิขสิทธิ์ตามสัญญาสิ้นสุดลงจึงจะตกเป็นของทายาท(โดยมากกว่าจะตกถึงทายาทก็กินเวลาหลายสิบปี) แต่ระหว่างที่ต้นสังกัดยังถือสัญญาส่วนแบ่งจากยอดขายจะยังคงส่งมาให้ทายาทเรื่อยๆเหมือนตอนที่ตัวศิลปินยังอยู่

ผมเห็นว่างานเชิงศิลป์ต่างๆ ที่มีลิขสิทธิ์มักจะเป็นอมตะ แม้บางอย่างเช่นงานเขียนอาจจะไม่ได้ผลตอบแทนที่สวยหรูในระยะสั้น แต่ถ้างานชิ้นนั้นมีคุณภาพมันจะส่งผลในระยะยาว

ถ้ามีคนที่ทำงานในลักษณะนี้มาอ่าน ผมขอให้กำลังใจในการทำงานครับ 
สักวันนึงคุณจะเป็นอมตะได้เช่นเดียวกับศิลปินดังๆ

วันศุกร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒

Limit Risk per Trade

สำหรับการเทรดหุ้นและ/หรืออนุพันธ์ต่างๆมีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้เสมอๆ

ทำให้เราประสบกับปัญหาต่างๆ

ในหลายๆครั้งเราไม่สามารถที่จะควบคุมตัวเองได้ เกิดอาการกลัวไม่กล้าขายขาดทุน

เมื่อเห็นเสียหายหนักๆแล้วยอมตัดใจขายก็สายไปซะแล้ว

ดังนั้นก่อนที่เราจะซื้อหรือเปิดสถานะ เราควรจะมีกลยุทธ์สำหรับป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันด้วย

ผมเลยมาแนะนำหนึ่งในเครื่องมือที่ส่วนใหญ่รู้จักกันดีอยู่แล้ว นั่นคือการกำหนดจุดที่จะตัดขาดทุนหรือเรียกว่า Cut Loss

แต่ผมจะเพิ่มเติมโอกาสในสถานการณ์ที่ราคาหุ้นขึ้นด้วย

เราจะใช้ Limit Risk โดยการกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์เอาครับ เช่น 2% 3% 5%

แต่เราจะไม่กำหนดโดยการใช้ราคาที่เข้าซื้อเป็นฐานตลอด

เราจะใช้การลอยตัวตามราคาหุ้นที่ขึ้นไป

โดยเราจะใช้ราคา high เป็นฐานครับ

ยกตัวอย่างเช่น ผมซื้อ Major เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ที่ราคา 6.65 บาท ผมจะใช้ 6.65 เป็นฐานก่อน

ราคาหุ้น Major ขึ้นไปได้สูงสุดที่ 7.00 บาท ผมเลื่อนมาใช้ 7.00 เป็นฐานแทน

แม้ราคาจะลงไป 6.95 บาท ผมก็ยังใช้ 7.00 เป็นฐาน เพราะมันสูงกว่า

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นมาดูตารางกันดีกว่า


Photobucket
enter คือจุดเข้า
high คือราคาสูงสุด
% คือการตั้ง Limit Risk ของเรา
limit คือจุดขายเมื่อราคาลงมาแตะจุดนั้น
sold คือการปรับตัวเลขให้ตรงตาม spread ที่ตลาดระบุไว้เพื่อให้ขายได้จริง


จะเห็นได้ว่าเมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นไปแล้วเราเลื่อนจุดตามขึ้นไปด้วย ฐานที่เราจะ cut lossจากขาดทุนจะขาดทุนน้อยลง

เมื่อราคาขึ้นไปอีกจากขาดทุนจะเท่าทุน(ผมไม่ได้รวมค่า com) จนกระทั่งจุด cut loss จะไม่ใช่ cut loss อีกต่อไป เพราะมีกำไรแล้ว

กลยุทธ์นี้นอกจากจะช่วยไม่ให้เราเสียหายมากแล้ว ในกรณีที่เราเข้าถูกจังหวะ มันจะช่วยไม่ให้เราลังเลที่ถือต่อไป(Let Profit Run)

หลายคนที่ซื้อแล้วได้กำไรแต่พอราคาลงมาก็ถือจนกลายเป็นขาดทุน เพราะให้บางทีโลภเกินไป หวังว่ามันจะกลับตัว แต่ความจริงอาจจะหมดรอบไปแล้ว
กลยุทธ์นี้ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

แม้จะไม่ได้ขายในราคาที่สูงที่สุด(อย่าหวังจะได้ซื้อต่ำสุดและขายสูงสุด)
แต่นับเป็นทางเลือกที่ดีในการนำไปใช้ในระยะยาว

ได้เวลาปัดฝุ่น

จู่ๆก็เริ่มมีไฟอยากจะกลับมาเขียนบล็อกอีกครั้ง

คราวนี้ผมจะพยายามเขียนให้ได้ต่อเนื่องมากขึ้น

เนื้อหาแน่นขึ้น

หวังว่าจะมีคนติดตามผลงานนะ