วันอังคารที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

twitter

ไม่ได้อัพบล็อกนานมากๆ สงสัยคงเพราะมีบอร์ดส่วนตัวก็เลยมีที่แสดงความคิดเยอะ
พอสมัคร twitter มานานมาก แล้ววันนี้โหลดโปรแกรมที่ twitterpod มา
เห็นว่าสะดวกดีเลยชวนให้มาใช้ twitter กันครับ

twitter เป็นเวบที่เราสามารถพูดคุย ฝากข้อความ หรือติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆหรือคนที่เราสนใจติดตามได้ตลอดเวลา
การใช้งานก็แค่แอดหรือรับแอดเหมือนพวก hi5 นั่นแหละ แต่ผมไม่ชอบ hi5 เท่าไหร่ไม่รู้ทำไม
เวลาเราอยากพิมพ์อะไรก็พิมพ์ข้อความลงไป เพื่อนๆของเราก็จะได้อ่านข้อความ
เช่นกัน ถ้าคนใน list ของเราพิมพ์ข้อความอะไร เราก็จะได้อ่านข้อความนั้นๆเหมือนกัน
รวมถึงการแอดสำนักข่าวต่างๆเพื่อรับข่าวสารไว้อ่านก็สะดวกมากๆครับ

แอดผมที่ http://www.twitter.com/plamuek76
สมัครที่ http://www.twitter.com/

วันอังคารที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

information asymmetry

ขอก็อปมาลงดื้อๆเลยแล้วกัน(ก็อปของตัวเองคงไม่ผิดนะ^-^)
จาก http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=19350.0

information asymmetry เป็นการที่คนกลุ่มนึงมีข้อมูลที่ดีกว่าคนอีกกลุ่มนึง
ในระบอบทุนนิยมเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นที่ยอมรับกัน
ใครที่มีข้อมูลที่ดีกว่าย่อมได้เปรียบครับ
ตัวอย่างที่เด่นชัดสำหรับพวกเราคือหุ้น
เอาแบบพื้นๆก่อนเลยนะคือหุ้นทั่วๆไปที่ไม่ใช่หุ้นปั่น
หุ้นที่ไม่ใช่หุ้นปั่นปัจจัยหลักในการเคลื่อนไหวของราคาคือความคาดหวังของคนต่อผลประกอบการ
คนจำนวนมากคาดว่าดีราคาก็ขึ้น
คนจำนวนมากคาดว่าไม่ดีราคาก็ลง
ประเด็นอยู่ว่าคนที่มีข้อมูลที่ดีกว่าคนจำนวนมากจะสามารถใช้ข้อมูลนี้ตัดสินได้ว่าราคาไหนควรซื้อราคาไหนควรขาย
ข้อมูลที่ว่านี้ไม่เกี่ยวกับเรื่อง inside นะครับ เป็นข้อมูลที่นักลงทุนสามารถหามาได้เอง
บางทีข้อมูลข่าวสารเหมือนกันแต่บางคนที่ศึกษาธุรกิจนั้นๆมาดีอาจจะมองเห็นข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในเนื้อความนั้นๆได้

ยังมีบางกลุ่มที่ฉวยโอกาสนำข้อมูลที่มีบางส่วนมาแต่งเพิ่มก็มี เพื่อหลอกล่อให้คนที่ไม่มีข้อมูลติดกับ
เช่นในวันก่อนมีคนฉวยโอกาสดึงผลประกอบการของบริษัทหนึ่งขึ้นมาโปรโมท
แล้วพยายามหาข้อมูลอ้างอิงและบอกว่าตัวเองเป็นคนในวงการ*
เช่นเดียวกับคนที่จะขายรถ คุณย่อมมีข้อมูลที่ดีกว่าในฐานะเจ้าของ บางทีรถอาจจะมีปัญหาบางอย่างที่ดูภายนอกไม่รู้
ยังมีเรื่องของการทำธุรกิจประเภทต่างๆอีก โดยเฉพาะอาชีพหรือธุรกิจที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน*
ลองยกตัวอย่างเกี่ยวกับแพทย์ดีกว่า(หมอๆทั้งหลายอย่าว่ากันนะสมมติให้คนเข้าใจเฉยๆไม่ได้เป็นเรื่องจริง)
สมมติว่ามีคนไข้มาหาหมอที่คลีนิค แล้วหมอคนนั้นไม่มีจรรยาบรรณ
หมอคนนั้นสามารถที่จะบอกให้คนไข้ยอมรักษาอะไรที่ไม่จำเป็นก็ได้เพื่อให้ทางคลีนิคของตัวเองมีรายได้

ตรงนี้คือจุดสำคัญครับ คนในวงการหรือผู้เชี่ยวชาญ คือคนที่มีอำนาจเหนือกว่าเราเพราะเค้ารู้ข้อมูลที่เราไม่รู้หรือรู้ไม่ลึกเท่า
กรณีแรกที่อ้างว่าเป็นคนในวงการ เราอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้เพราะเราไม่เห็นตัวตนของคนๆนั้นว่าประกอบอาชีพอะไร
แล้วดันพยายามอ้างอิงเกินความรู้จึงถูกจับได้ว่าไม่ใช่
แต่ถ้าไม่มีคนที่รู้คอยมาบอก บางคนอาจจะเชื่อก็ได้ ซึ่งผลที่ตามมาไม่สวยเลย
แต่ในกรณีของหมอที่สมมติขึ้นนี่เป็นเรื่องสำคัญมากครับ
เพราะมีเครื่องแบบยืนยันว่าเป็นตัวจริง
ในกรณีนี้คนไข้ย่อมต้องเชื่อหมอเกือบ100%
ดังนั้นจรรยาบรรณของแพทย์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
information asymmetry คือเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้แบบผิดๆได้ง่ายมาก

ในบางกรณี ข้อมูลลับๆอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้ แต่อำนาจของมันคือความลับนี่แหละ
สมมติว่ามีพวกกลุ่มก่อความไม่สงบในกรุงเทพ
สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนมหาศาล
เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีล้ำหน้ามาก
พวกนี้เวลาจะติดต่อกันจะช่องให้ช่องทางลับหรือมีรหัสคำพูด รหัสท่าทาง
ดังนั้นรหัสเหล่านี้จึงสำคัญต่อความมั่นคงของกลุ่มและบรรดาสมาชิก
ถ้ารหัสถูกนำมาเผยแพร่
สมาชิกบางส่วนจะกลัวและถอยออกมาเอง
อำนาจของกลุ่มจะลดลงทันที
เช่นเดียวกับข้อมูล inside ของเจ้ามือหุ้น
ถ้าข้อมูลรั่วไหลก่อนที่เจ้ามือจะดำเนินการ
แผนการจะถูกเลื่อนหรือยกเลิกไปก่อน ต้องใช้เวลานานขึ้น
หรืออาจจะต้องสวมบทโหดทำให้รายย่อยกลัว
ถ้ามันหลุดออกมาแล้วมันกำลังเป็นไปตามข่าวที่ได้มา แสดงว่าใกล้จะจบแล้ว
เพราะข่าว inside มันต้องอยู่วงใน
ถ้ามาอยู่วงนอกแสดงว่าแผนการดำเนินไปได้ด้วยดี(ได้เวลาโกย)
หรือเรียกง่ายๆว่าได้เวลาล่อให้แมงเม่ามาร่วมวงแล้วเชือด

โลกยุคปัจจุบัน information asymmetry ลดน้อยลง
เพราะอินเตอร์เน็ตทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น
รู้เท่าๆกันกับคนอื่น
ดังนั้นสิ่งสำคัญในยุคนี้น่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล
ในฐานะนักลงทุนเราควรจะมีข้อมูลที่ดีกว่าหรืออย่างน้อยต้องเท่ากับคนอื่น+การวิเคราะห์อันชาญฉลาดไปด้วยครับ

วันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

โป๊กเกอร์กับการเล่นหุ้น

หลังจากไม่ได้อัพบล็อกมานานก็มีเรื่องมาอัพแล้ว(ก่อนหน้านี้ไม่มีไอเดียดีๆที่จะเขียนเลยครับ)
พอดีไปเจอเวบไซท์ที่เป็นเวบรวมเกมแฟลช ชื่อเวบ http://www.newgrounds.com/
เลยได้ลองเล่นเกมหลายๆเกมจนมาเจอเกมนึง ชื่อ Governor of Poker
คลิก
ลักษณะของเกมจะเป็นแบบกึ่งๆเปิดครับ คือเราเป็นตัวละครนึงในเกม แล้วเราต้องไปเข้าร่วมการแข่งขัน Poker แบบ Texas Hold'em เพื่อที่จะล่าเงินในการสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเอง มีการซื้อบ้าน(ร้าน)และพาหนะด้วยครับ โดยการซื้อบ้านนี้จะมีผลตอบแทนให้เหมือนรายได้จากค่าเช่า ซึ่งเป็นรายได้ที่มั่นคงกว่าไปเล่น Poker แต่ถ้าไม่เล่น Poker ก็ไม่มีทางที่จะเล่นหน้าซื้อสินทรัพย์จนครบเมืองเพื่อที่ข้ามไปเล่นในเมืองต่อไปได้ เพราะผลตอบแทนเป็นเม็ดเงินไม่สูงนัก ดูคล้ายชีวิตประจำวันของเราเลยนะครับ ต้องไปทำงานโดยใช้แรงใช้สมองเข้าแลกจนกว่าจะมีสินทรัพย์ที่ให้รายได้ได้มากพอ

ในการเข้าร่วมการแข่งขันจะมี2แบบ คือแบบ Tournament และ Cash แบบ Tournament เราจะต้องจ่ายค่าเข้าไปเล่นก่อนและจะได้รับรางวัลเมื่อได้ที่1-3เท่านั้น การเล่นแบบ Tournament ต้องอาศัยการบริหารหน้าตักที่ดีเพื่อให้อยู่บนโต๊ะให้นานที่สุด อย่างน้อยต้องได้ที่3เพื่อเงินรางวัลโดยในการแข่งขันจะมีผู้เล่น8คน มีชิพเท่ากันทุกคน
ส่วนแบบ Cash จะมีผู้เล่น6คน และได้เสียเงินตามที่เราเล่นสามารถลุกจากโต๊ะเมื่อก็ได้หรือจนกว่าจะหมดตัว
แบบ1-1ก็มีเหมือนกันเจอตอนที่จะเล่นเพื่อที่จะเอาพาหนะ

มาเริ่มโยงเรื่องระหว่าง โป๊กเกอร์กับหุ้นดีกว่า โป๊กเกอร์เป็นเกมที่ต้องตัดสินจากไพ่ที่มีศักดิ์สูงที่สุด


แต่ในเกมนี้เล่นแบบ Texas Hold'em เราจะได้รับไพ่มา2ใบ แล้วจะไปจับคู่กับไพ่ในกองกลางอีก3ใบจาก5ใบ ดังนั้นทุกคนได้โอกาสจะไพ่กองกลางที่เปิดออกมาเท่าเทียมกัน ต่างตรงที่ไพ่ในมือ2ใบนั้นทำให้เรามีแต้มต่อมากกว่าหรือน้อยกว่าคนอื่นๆ

ในการเล่นจะต้องมีเงินเดิมพัน โดยที่จะมีคนที่เป็น Big Blind และ Small Blind (ผลัดกันเป็นทั้งโต๊ะโดยวนตามเข็มนาฬิกา) ทั้งคู่จะโดนบังคับให้ต้องวางเงิน โดย BB จะวางมากกว่า SB 1เท่าตัว เช่นเริ่มเกม BB วาง $2 SB จะวาง $1
การวางเงินก็เช่นเดียวกันจะวนตามเข็มนาฬิกา(SB อยู่ทางขวาของ BB) โดยผู้เล่นคนถัดจาก BB จะเลือกที่จะมอบ วางตาม BB หรือ เกทับก็ได้ วนไปจนถึง SB ซึ่งเป็นคนสุดท้าย แล้ว BBจะเลือกที่จะให้เปิดไพ่กองกลาง 3ใบแรก หรือเกทับ หรือหมอบก็ได้
ถ้าเกทับจะต้องวนกันตามเข็มนาฬิกาต่อไปโดยยังไม่เปิดไพ่กองกลางจนกว่าจะหยุดเกทับกันหรือจนกว่าจะเหลือผู้ชนะเพียงคนเดียว
ถ้าเปิดไพ่กองกลาง 3ใบ ก็จะเริ่มต้นวนกันตัดสินใจตามเข็มนาฬิกาต่อ ถ้าหยุดเกทับกันแล้วถึงจะเปิดอีก1ใบ และเกมจะเล่นแบบนี้จนเปิดอีก1ใบ ถ้ายังไม่ได้ผู้ชนะก็จะตัดสินโดยการให้ผู้เล่นหงายไพ่ในมือออกนับแต้มกัน

ลักษณะการเล่นแบบนี้เปิดโอกาสกว้างให้ผู้ที่ได้ไพ่ได้ดีมีโอกาสชนะได้จากการให้จิตวิทยาในการเล่นหลอกล่อ เช่นแกล้งทำเป็นมั่นใจ เกเงินทับไปเยอะๆ หรือแกล้งไม่เกเงินเพื่อดึงผู้เล่นคนอื่นๆให้อยู่ในเกมนานจะได้มีเงินเดิมพันบนโต๊ะสูงๆ

โป๊กเกอร์ โดยเฉพาะ Texas Hold'em มีลักษณะที่คล้ายๆการเล่นหุ้นตรงที่เรามีไพ่2(เหมือนข้อมูลที่ไม่มีใครรู้) ไพ่กองกลางที่ค่อยๆทยอยเปิด(เหมือนข่าวต่างๆ) และการหลอกล่อจากการเลือกตัดสินใจวางเงินเดิมพัน(การวาง bid offer) รวมทั้งถ้ามีเงินหน้าตักมากกว่าจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งมากทีเดียว และการบริหารเงินบนหน้าตักก็สำคัญต่อชัยชนะในระยะยาว

วันจันทร์ที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

นักลงทุนความจำสั้น

นายพรานสองคนว่าจ้างเครื่องบินให้พาพวกเขาไปล่ากวางมูส์ในในเขตป่าแคนนาดา
เมื่อไปถึง นักบินนักบินตกลงจะมารับพวกเราในอีกสองวันถัดมา
อย่างไรก็ตามนักบินได้เตือนพวกเขาว่าเครื่องบินจะสามารถรับน้ำหนักกวางมูส์ได้เพิ่มจากน้ำหนักของนายพรานอีกคนละหนึ่งตัวเท่านั้น
น้ำหนักที่เกินกว่านั้นจะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาและไม่สามารถบินกลับถงบ้านได้

สองวันต่อมา เมื่อนักบินกลับมารับ แทนที่จะฟังคำเตือน นายพรานได้ฆ่ากวางมูส์คนละสองตัว
เมื่อนักบินบอกว่าน้ำหนักมากเกินไป
นายพรานคนนึงพูดว่า "ปีที่แล้วคุณก็พูดอย่างนี้จำได้ไหม? เราจ่ายคุณพิเศษอีก1000เหรียญ แล้วคุณก็พาเรากลับพร้อมกวางมูส์สี่ตัว"
นักบินตอบรับอย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก เครื่องบินบินขึ้นแต่หนึ่งชั่วโมงหลังจากนั้นน้ำมันเหลือน้อยเครื่องยนต์ระเบิด นักบินถูกบังคับให้ลงจอดโดยเร่งด่วน
นายพรานทั้งสองมีอาการมึนงง แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ และคลานออกมาจากซากเครื่องบิน
นายพรานคนหนึ่งถามว่า "รู้ไหมเราอยู่ที่ไหน?"
อีกคนตอบว่า "ไม่แน่ใจ แต่ดูเหมือนจะเป็นที่เดียวกันกับที่เราตกเมื่อปีก่อน"


แถมQuoteครับ
Investors have very short memories.
Roman Abramovich

วันเสาร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑

VI-VS

VI คือการเก็งกำไรจากการดูหุ้นดี ๆ
ผ่านการกระทำของคนในบริษัทจดทะเบียน

VS คือการเก็งกำไรจากการดูราคาหุ้นดีๆ
สำหรับซื้อและสำหรับขาย
ผ่านการกระทำของคนในตลาดหุ้น

โดยคุณ คลายเครียด
Posted: Mon Mar 24, 2008 10:18 am Post subject:
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=32809

บทเรียนจากพ่อที่เป็นตัวอย่างให้ลูกในการลงทุนและใช้ชีวิต

บทความนี้ผมก็อปมาอีกทีนึงครับ
ขอขอบคุณ dr.k ที่นำบทความดีๆมาให้ได้อ่าน

พ่อสอนผม - บทเรียนจากพ่อที่เป็นตัวอย่างให้ลูกในการลงทุนและใช้ชีวิต
โดย มือเก่าหัดขับ (สงวนลิขสิทธิ์ พศ.2548)

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ที่เว็ป www.thaivalueinvestor.com ได้ขอ (หรือยุ ก็ไม่ทราบเหมือนกัน ผมยิ่งบ้าจี้อยู่ด้วย) ให้ผมเขียนให้อ่านกัน โดยถือว่าเป็นการเล่าและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันมากกว่าการสอน เพราะผมคงไม่อาจจะสอนใครได้ครับ

แรกเริ่มเดิมที เพื่อนๆขอให้เล่าเรื่องที่คุณพ่อผมสอนเล่นหุ้น แต่ด้วยความที่พ่อไม่เคยสอนผมเล่นหุ้น มีแต่เป็นการให้ข้อคิดในแง่มุมอื่น ผมจึงต้องขอแก้ชื่อเรื่องก่อนว่า ไม่ใช่เรื่องพ่อสอนเล่นหุ้น เพราะพ่อเองก็ไม่เคยเล่นหุ้นด้วย แต่พ่อซื้อหุ้นเพราะเหตุผลอื่นครับ คือมองเป็นการลงทุนจริงๆ ไม่ใช่ว่าซื้อมาขายไปเอากำไรทำนองนั้น พ่อเองยังอยู่ดีมีสุข ไม่ค่อยได้ตามหุ้นว่ามันจะขึ้นหรือลง หลังๆ มาสุขภาพไม่ค่อยดีนัก (ตามอายุ) ก็เลยบอกให้ผมดูแทน แต่ไม่ค่อยได้เทรดอะไร เพราะไม่จำเป็นและเราทั้งสองคนไม่ชอบ รวมทั้งออกจะขี้เกียจในการซื้อๆ ขายๆ ด้วยครับ

ผมขอละเว้นไม่ระบุชื่อหุ้นต่างๆ และราคาที่ทำการซื้อขายใดๆ นะครับ เนื่องจากคงไม่เกิดผลดีใดๆ ต่อใครทั้งสิ้น ผมก็ขอเริ่มเล่าไปเรื่อยๆ เลยก็แล้วกันนะครับ



วันหนึ่ง นานมาแล้ว ผมเริ่มสนใจในตลาดหุ้น ผมเล่าให้พ่อฟังว่า ผมเริ่มไปเปิดพอร์ตเพื่อซื้อขายหุ้นนะ เพราะว่าได้ร่ำเรียนมา น่าจะพอดูบริษัทออกได้บ้าง อย่างบัญชีหรืองบการเงินก็พอจะดูเป็น (ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าผมไม่ได้เป็นนักบัญชี แต่ผมตั้งใจว่าจะใช้ความรู้ตรงนี้เป็นส่วนประกอบเบื้องต้นในการคัดเลือกหุ้น) คงไม่เจ๊งหรอกน่า ผมก็เริ่มพูดเรื่องหุ้นกับพ่อ พ่อเองที่แต่ก่อนไม่เคยคุยเรื่องหุ้นกับผมเท่าไร พอผมเริ่มพูด พ่อก็เริ่มคุยด้วย

ผม: พ่อมีหุ้นอะไรบ้างครับเนี่ย?
พ่อ: พ่อมี xxx อยู่ yyy หุ้น แล้วก็ abc, แล้วก็ def, กับ ghi นอกนั้นไม่ค่อยเท่าไร
ผม: เยอะเหมือนกันนี่ครับ อืมม์... แล้วพ่อซื้อนานหรือยังล่ะ
พ่อ: โอ๊ย นานแล้ว ส่วนใหญ่จองได้มานะ เก็บไว้จนลืมนั่นแหละ เห็นมันถูกดี ถูก คือมีอนาคตดี มีปันผล แล้วก็โตไปได้ตามเศรษฐกิจนะ พ่อว่า ถ้าเศรษฐกิจดีขึ้น สินค้าของบริษัทก็ต้องขายดีขึ้นแน่ๆ อย่างไงบ้านเมืองเราก็ต้องขยายตัว ตอนซื้อมาราคาจองไม่กี่บาทเอง แต่พ่อซื้อเพิ่มทีหลังด้วยก็มี

ผม: ใช่พ่อ ถ้าพ่อไม่ซื้อๆ ขายๆ นะ ตัวที่พ่อถือนี่แหละ ถือลืมได้เลย (ผมเคยดูงบการเงินย้อนหลังและการจ่ายปันผล รวมทั้งธุรกิจของบริษัทนั้นมาก่อน)
พ่อ: เออ! พ่อก็ถือลืมนั่นแหละ เอ... ใบหุ้นอยู่ในตู้เซฟนั่นแหละ บริษัท xxx นี้มีใบหุ้นด้วย (ยิ้ม)
ผม: ก็ดีนะพ่อ ไม่ต้องไปดู หรือคิดจะขาย รับปันผลลูกเดียว
พ่อ: ก็นั่นแหละ รับมานานแล้ว จริงๆ แล้วที่ซื้อเพิ่ม ก็ปันผลมันน่ะแหละ ไม่ต้องออกตังค์ ดีไหม?
ผม: ดีครับ เหมือนได้หุ้นฟรีๆ (ยิ้ม)
พ่อ: ก็นั่นแหละ พ่อเก็บไว้ให้แก เพราะพ่อไม่ได้ใช้ พ่อมีเงินใช้ทุกเดือนอยู่แล้ว
ผม: ... (แต่ยิ้มกว่าเดิม) ไม่เป็นไรครับ ผมจะเก็บไว้เหมือนกัน
พ่อ: เออ... แล้วแกซื้อหุ้นอะไรไว้บ้างล่ะ
ผม: ก็พอมีนะครับ หลายบริษัทเหมือนกัน (ตอนนั้นผมมีหุ้นราวๆ เจ็ดแปดตัวได้) ตัวละนิดๆ หน่อยๆ ครับ
พ่อ: แล้วเป็นไงบ้าง มีปันผลหรือเปล่า?
ผม: ก็มีนะครับ มากบ้างน้อยบ้าง
พ่อ: แล้วถ้าเทียบกับทั้งพอร์ตล่ะ?
ผม: (งงไปสักพักหนึ่ง เพราะไม่เคยคิดอ่ะ) อืมม์ ไม่รู้แฮะพ่อ แหะๆ
พ่อ: อ้าว ทำไมไม่รู้ล่ะ ลองคิดดูสิ ว่าถ้าเทียบกับเงินที่ลงทุนไปหมดเนี่ย น่าจะได้ปันผลเท่าไร แล้วลองดูซิว่าจริงๆ แล้วได้อย่างที่คิดหรือเปล่า ปีนี้ ปีหน้า จะได้มากขึ้นหรือน้อยลง อะไรแบบนั้น
ผม: ครับๆ เดี๋ยวลองไปคิดดู

พ่อ: อืมม์.. แกซื้อหุ้น แกก็คิดว่าเป็นการออมอย่างหนึ่งก็แล้วกัน เสี่ยงกว่าฝากธนาคาร แต่ก็อาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เรียกว่าออมไว้ส่วนหนึ่งในหุ้นนะ คิดเสียว่าทำให้เงินงอกเงย
ผม: ครับ ผมก็คิดแบบนั้นแหละ
พ่อ: แล้วก็อย่าไปซื้อๆ ขายๆ มาก คนรวยน่ะไม่ใช่เราหรอก นายหน้ารวยลูกเดียว ได้ทั้งขึ้นทั้งล่องเลย
ผม: อ้าว?!? แล้วถ้าซื้อแล้วได้กำไร หรือขาดทุนล่ะ ไม่ขายหรือพ่อ
พ่อ: แกก็ดูเอาสิ ว่ามันคุ้มไหม ได้กำไรน่ะ ได้จริงหรือเปล่า ขายแล้วจะเอาเงินไปทำอะไรที่มันดีกว่า หุ้นมันขึ้นเพราะอะไร มันจะขึ้นไปเรื่อยๆ ไหม เกินกว่าที่มันน่าจะเป็นหรือยัง ถ้ามันยังจะขึ้นไปอีก ก็ถือรับปันผลไปเรื่อยๆก็ได้นี่ บางที พ่อก็เห็นหุ้นมันขึ้นไปเรื่อยๆ นะ อย่างบางตัวนี่คน "ซื้ออนาคต" กันเป็นหลายๆ ปีเลย จะรู้ได้ไงว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ (พ่อสอนผมทางอ้อมให้หัดประเมินความเป็นไปได้ในการคาดการณ์)
ผม: ก็จริงนะครับ ผมว่าผมเลือกหุ้นที่ดีวันนี้เลยดีกว่า หรือไม่ก็ถ้าเป็นหุ้นที่ไม่ดีวันนี้ ก็ต้องดีแน่ๆ แบบสตางค์รอวิ่งเข้ากระเป๋า แล้วก็ดีไปเรื่อยๆ แบบมีรายได้แน่ๆ เหมือนที่ผมทำงาน (ผมหมายถึงงานส่วนตัว ที่ผมมักจะตัดความเสี่ยงออกทั้งหมด เรียกว่าถ้าไม่ได้กำไรแน่ๆ ผมไม่ทำ เพราะไม่จำเป็นต้องรับเอาไว้ทำ)
พ่อ: หาได้แบบนั้นก็ดี แต่ว่าแกก็ต้องทำงานนะ คือหามัน จะไปเชื่อใครเขาไม่ได้ พวกเชียร์หุ้นวิจารณ์หุ้นน่ะ บางทีพ่อไม่ค่อยเชื่อเท่าไร
ผม: ใช่ครับ ผมก็ไม่ค่อยเชื่อ
พ่อ: แกก็ฟังข้อมูลเขาเอาก็แล้วกัน ที่คาดว่าอย่างนั้น คาดว่าอย่างนี้ ก็คิดเอาเอง ว่าคาดกี่ที มันหลายตลบนักก็ท่าจะไม่แม่นเท่าไร ข้อแม้มันเยอะเหลือเกิน พ่อเลือกหุ้นที่มัน defensive หน่อยดีกว่า
ผม: ดีครับ พวกนี้อึดดี (ผมหมายถึงหุ้นพวก defensive เพราะไม่ค่อยได้รับผลกระทบมากนักกับการดำเนินงาน)

พ่อ: วันนี้หุ้นผันผวนนะ (เออ... พ่อใช้คำพวกนี้ก็เป็นแฮะ) บางทีพ่อเห็นหุ้นวิ่งขึ้นลงแล้วน่าเวียนหัว เดี๋ยวขึ้นเดียวลง มันอะไรนักหนา แบบนี้ไม่เรียกว่าปั่นว่าทุบ แล้วเรียกว่าอะไร มีแต่ข่าวมาเล่นกันได้บ่อยๆ นี่เห็นว่า กลต. เขาจะเล่นงานอยู่นี่
ผม: ใช่ครับ หุ้นนั้น (ผมพูดชื่อหุ้นตัวหนึ่ง) ข่าวเยอะมาก ข่าวดีมารอบหนึ่ง หายไปครึ่งเดือน ข่าวร้ายมาแล้ว หายไปอีกหน่อย ข่าวดีออกมา ไม่รู้อะไรนักหนา คงมีคนเจ๊งคนได้กันไปบ้างแหละ
พ่อ: ธรรมดา มีคนได้ ก็ต้องมีคนเสีย ซื้อวันนี้พรุ่งนี้ขาย ไม่ได้ก็เสียแหละ ปันผลก็ไม่เคยได้ บริษัทยังไม่ทันจะรับผลประโยชน์จากการดำเนินการเลย ก็ขายเสียแล้ว แบบนั้นไม่เรียกลงทุน แบบนั้นเรียกว่าซื้อขายหุ้นเพื่อเอากำไร มูลค่าเพิ่มจากการทำงานของบริษัทมันยังไม่เกิดเลย
ผม: ก็นั่นแหละครับ คนเขาบอกว่าสนุก
พ่อ: แล้วเสียเงินไหมล่ะ?
ผม: คนได้ก็มีนะพ่อ
พ่อ: แล้วจะต้องไปเสี่ยงทำไมล่ะ พ่อเห็นมีแต่คนบ่นขาดทุน คนได้มีแค่หยิบมือ แต่สุดท้ายไปๆมาๆ ก็เสมอตัวเสียเยอะ พอได้ แล้วก็มาเสีย คืนเงินเขาไป
ผม: ก็ไม่ใช่เงินของตัวเองนี่ ได้มาฟรี ก็ต้องเสียไปฟรีๆ
พ่อ: ถูกแล้ว เงินที่ไม่ใช่ของเรา ก็ต้องคืนเขาไปอยู่ดี ของฟรีไม่มีหรอกลูก แต่ถ้าเราถือหุ้นไว้ ให้บริษัทมีผลดำเนินงาน แล้วจ่ายปันผลเรา แบบนี้มันเป็นของเรา เราไม่ได้เบียดเบียนใคร เราเป็นเจ้าของบริษัทด้วยกัน ร่วมหัวจมท้ายกัน
ผม: ก็จริงครับ ไม่บาปด้วย เอ.. แต่คนเขาซื้อขายบ่อยๆ แบบเก็งกำไร เขาก็พร้อมจะขาดทุนกัน แบบว่าอยู่ในสนามเดียวกัน เขาคงไม่คิดว่าถูกเบียดเบียนหรอกครับ ฉะนั้นคนที่เล่นแบบเดียวกันคงไม่บาปหรอกพ่อ (แล้วผมก็หัวเราะ)
พ่อ: แบบนั้นอาจจะเบียดเบียนตัวเองก็ได้นะ พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่าเบียดเบียนผู้ใด แม้แต่ตัวเอง
ผม: !?! (นึกในใจ มีด้วยหรือฟะ เบียดเบียนตัวเอง)

หลังจากดูหุ้นวิ่งขึ้นๆ ลงๆ สักพักหนึ่ง เศรษฐกิจรวมๆ ก็ทำท่าว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ การใช้จ่ายของประชาชนและของรัฐบาลก็มากขึ้น (จริงๆ แล้วต้องมองสองด้านเสมอ คือทั้งด้านดีและไม่ดี) โครงการเมกกะโปรเจ็กท์เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดเมื่อไม่นานมานี้ วันหนึ่งผมไปหาพ่อ นั่งคุยกันเรื่องสัพเพเหระตามปกติ แล้วก็พาลวกเข้ามาเรื่องหุ้นจนได้...

พ่อ: หุ้น mno (ชื่อสมมติ) เป็นไงบ้าง ดีไหม?
พ่อพูดถึงหุ้นตัวใหม่อีกตัวหนึ่งที่ไม่เคยมีในพอร์ต เป็นหุ้นที่เรียกว่าใช้ได้ตัวหนึ่ง เข้าสูตรพ่อว่าพ่อต้องชอบ เพราะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ สภาพคล่องพอสมควร เรียกว่ามีสภาพเท่าๆ กับเงินสดเหมือนกัน และก็กำลังฟื้นตัว
ผม: ก็ดีนะครับ แต่ตอนนี้แพงไปหน่อย (ผมว่าตามความรู้สึก)
พ่อ: แพงอย่างไงล่ะ ไหนอธิบายหน่อย
ผม: คือราคามันขึ้นมามากแล้ว อีกไม่นานคงยุ่งแน่ๆ (ผมหมายถึงว่าจะต้องราคาตกต่ำลง ใครๆที่ซื้อไว้ก็อาจจะตกใจได้)
พ่อ: แล้วกำไรเป็นอย่างไรบ้างล่ะ พ่อเห็นเศรษฐกิจดีขึ้น คนน่าจะใช้สินค้าของเขามากขึ้นนะ ราคาที่ขึ้น อาจจะขึ้นได้อีก มันอยู่ที่การดำเนินงานของบริษัทมากกว่า ไม่ใช่ว่าขึ้นแล้วต้องลงเสมอไป มันอยู่ที่ว่าขึ้นเกินความสมควรไปหรือยัง (พ่อหมายถึงราคาอันควรที่จะได้ผลตอบแทนเกิน NPV - Net Present Value ของมัน) ถ้ายัง ก็ไม่เห็นเป็นอะไรนี่นา
ผม: (อ้ำอึ้งไปนิดหนึ่ง เพราะปกติถ้าหุ้นขยับขึ้นถึงจุดหนึ่ง ก็จะมีแรงขายสวนออกมาเสมอ บางคนเข้าซื้อแล้วทนไม่ได้ ก็มักจะถอดใจขายขาดทุนออกมา แล้วหุ้นนั่นก็วิ่งสวนขึ้นไปให้เจ็บใจ แถมตามไม่ทันอีก แต่กับพ่อ คงไม่เท่าไรเพราะพ่อหนักแน่นเรื่องแบบนี้เสมอ แต่ผมก็อดหยอดความเห็นเพิ่มไปไม่ได้) มันก็จริงน่ะครับ แต่ว่า ผมว่านะ สินค้านี้มันแข่งกับต่างประเทศไม่ได้ นี่ถ้าเปิดเสรี แล้วก็โดนบีบเรื่องให้เอากำแพงภาษีออกล่ะก็ เสร็จแน่ๆเลย ของต่างประเทศเข้ามาคงถูกกว่าแน่
พ่อ: เฮ้ย! นั่นมันเรื่องการเมืองนะ อีกอย่างหนึ่ง เรื่องภาษีนี่คงลำบาก รัฐบาลไม่เอากำแพงออกแน่พ่อว่า ไม่งั้นต้องพังกันหมด เรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไร ไม่งั้นก็เจ๊งไปตั้งนานแล้วล่ะ นี่อยู่มาได้ตั้งนาน
ผม: พ่อว่างั้นเหรอ เอางี้นะครับ เดี๋ยวเราเอางบการเงินมาดูกันก่อนตัดสินใจดีกว่า
พ่อ: พ่อไม่ได้เรียนมานะ แต่พ่อส่งแกไปเรียนมาแทนไง ก็ดี เอามาดูกัน อย่าลืมนะ คราวหน้าเอามาด้วย ทำอะไรก็ต้องรีบคิดรีบทำนะ เวลาไม่รอใครหรอก

ผมหายหน้าไปหนึ่งสัปดาห์ กลับมาหาพ่อพร้อมกับข้อมูลทั้งของตลาดหลักทรัพย์ และบทวิจัยของโบรกเกอร์สองสามราย เกี่ยวกับหุ้นตัวที่คุยกันไว้เมื่อคราวก่อน จริงๆ แล้วผมก็อ่านไปสองสามรอบแล้ว เพื่อเป็นการทำการบ้านมาก่อน เพราะเมื่อมาถึงพ่อแล้ว จะต้องอธิบายให้พ่อฟังอีกคร่าวๆ แถมด้วยพ่อต้องถามคำถามที่ผมตอบยากอีกแน่ๆ
พอผมเจอหน้าพ่อ ไหว้พ่อและทักทายเรียบร้อยแล้ว คำแรกที่พ่อถามกลับไม่ใช่เรื่องหุ้นครับ

พ่อ: เออ สวัสดีลูก เป็นไงบ้าง งานที่บริษัท? (พ่อหมายถึงงานประจำของผม)
ผม: ก็ดีครับ บริษัททำงานได้ดี มีกำไรตามควร แต่ก็ลุ่มดอนเล็กน้อยตามสภาพการแข่งขันครับ
พ่อ: อืมม์... ตั้งใจทำงานให้ดีนะ อย่าพะวงเรื่องหุ้นมากนัก พวกนี้เหมือนกับเป็นการออมของเราอย่างหนึ่ง อย่าหวังรวยมากมายด้วยหุ้น เราซื้อหุ้นถือว่าเป็นการออมนะ ไม่ใช่หวังรวยมากมายรวดเร็ว พ่อเห็นมามากแล้ว ไปเล่นหุ้นปั่น วู๊... (พ่อทำเสียงแหลม) เจ๊งไปเยอะ เหมือนพวกเพื่อนพ่อบางคน เตือนก็ไม่เชื่อ แถมเผลอๆมาด่าเราอีกว่าขัดลาภ แต่มันก็เงินเขานี่นะ เราเอาแค่ได้ปันผลมากกว่าดอกเบี้ยธนาคาร ชนะอัตราเงินเฟ้อ และก็รักษาต้นทุนไว้ได้ก็พอแล้ว

ผมรู้ว่าพ่อกลัวว่าผมจะกลายเป็นนักเล่นหุ้นไปเสียก่อนโดยไม่สนใจการงาน จริงๆ แล้วทั้งที่พ่อก็รู้ว่าผมเป็นคนรักงาน แต่ก็คงอดกลัวไม่ได้ที่ผมไปเรียน ป.โท เรื่องการจัดการและการเงิน อาจจะกลัวผมร้อนวิชาจนเอาเงินมาเล่นหุ้นหมด หรือเล่นหุ้นปั่นจนเจ๊งหุ้นเหมือนเพื่อนพ่อบางคนไปเสียก่อน เรื่องของการให้เอาใจใส่ในการงานนี้พ่อเน้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นงานธุรกิจส่วนตัวนอกเวลาของผม หรืองานประจำ เพราะพ่ออยากให้ผมทำตัวให้เป็นประโยชน์ไปด้วย

ผม: ครับพ่อ ผมก็ลงทุนเพื่อเป็นการออมนั่นแหละครับ แล้วไม่เคยเล่นหุ้นปั่น พ่อไม่ต้องห่วงหรอกครับ (บอกตรงๆ ผมก็ไม่เล่นหุ้นปั่นหรอก เพียงแต่ว่าบางครั้งเก็งกำไรบ้างเท่านั้น เป็นตัวๆ ไปแต่ด้วยงบประมาณที่น้อย พ่อรู้ก็คงไม่ว่าหรอก)
พ่อ: ไหนเอาอะไรมา เอามาดูกันหน่อย (พ่อพูดถึงเอกสารเกี่ยวกับหุ้นของบริษัท mno ที่พูดถึงสัปดาห์ก่อน) เออ.. แล้วหยิบแว่นให้พ่อด้วยนะ อยู่บนโต๊ะทำงานน่ะ

ผมเดินไปหยิบแว่นบนโต๊ะทำงานของพ่อ ที่มีหนังสือวางอยู่ราวๆ สิบกว่าเล่มแต่เป็นระเบียบเรียบร้อย พ่อเป็นคนรักษาความสะอาด เรียกว่าเป็นระเบียบสมกับหน้าที่การงานจริงๆ หนังสือที่วางอยู่ส่วนใหญ่เป็นหนังสือเกี่ยวกับธรรมะและการใช้ชีวิต พวกปรัชญาและประวัติศาสตร์ก็มีบ้างเหมือนกัน ส่วนหนังสือพิมพ์หรือหนังสือเกี่ยวกับหุ้นนั้น เรียกได้ว่าไม่ค่อยมีเอาเลย หรือหาได้ยากมาก พ่ออาศัยวิธีการดูหุ้นจากเนื้อแท้ของธุรกิจจริงๆ มากกว่า อาศํยการคุยกับเพื่อน การเดินช็อปปิ้ง (เดินจริงๆ ครับ ไม่ค่อยได้ซื้ออะไรหรอก บางทีคนที่ไปด้วยก็ถามว่าพ่อมาดูอะไรเนี่ย? พ่อก็บอกว่ามาซื้อของใช้เท่าที่จำเป็น แต่มาแล้วก็ดูๆ หน่อย) พ่อไม่ค่อยซื้อของสุรุ่ยสุร่าย นานๆ จะเห็นพ่อซื้ออะไรที่ไม่ใช่ของจำเป็นสักครั้งหนึ่ง จริงๆ แล้วพ่อไม่ใช่คนขี้เหนียว แต่จะจ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น อย่างรถยนต์ รถเบนซ์อะไรนี้พ่อก็ซื้อมาใช้ แต่ว่าไม่ใช่ว่าเปลี่ยนบ่อยๆ ตามรุ่นที่ออกมา บางทีพ่อบอกว่า ไม่อยากซื้อของเข้าบ้านมาก เพราะเกะกะบ้าน (ผมก็เห็นจริง เพราะหากของเยอะ บ้านสวยๆ ก็รกไปหมด ดูแลยาก ทำความสะอาดก็ยาก)

นอกเรื่องไปเสียมาก แต่แม้เรื่องที่เล่ามานี้จะไม่เกี่ยวกับหุ้นเท่าไรนัก แต่แสดงให้เห็นได้ว่า การที่เราเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัว และมีความรู้รอบตัวที่ดี มีการควบคุมความคิด มีระเบียบวิธีในการคิดและไม่ฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย ก็ทำให้เรามีปัญญาให้การตัดสินใจได้ในหลายๆ เรื่อง ไม่เว้นแม้กระทั่งการลงทุนนะครับ หลายๆ ท่านเคยเปรยไว้ว่า คนที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนหลายๆ คน ไม่ได้มีความรู้มากมายทางด้านเศรษฐศาสตร์หรือการเงินเป็นหลักหรอก เพียงแต่เข้าใจพอใช้งานได้ หากแต่มีความเข้าใจในความคิดมนุษย์ โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และปรัชญาต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหากเราคิดจริงจังแล้วก็อาจจะเห็นเป็นจริงได้ เพราะหลักการที่กล่าวมานั้น ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้โลกและธุรกิจต่างๆ ดำเนินไปได้ทั้งสิ้น

หลังจากหยิบแว่นตาให้พ่อแล้ว ผมก็มานั่งกับพื้นไกล้ๆ พ่อที่อยู่บนเก้าอี้หนังตัวโปรด แล้วก็ยื่นเอกสารให้พ่อไปทีละชิ้น พ่อหยิบดูชิ้นแรกแล้วก็เริ่มถาม

พ่อ: เอ้า.. นี่อะไรน่ะ ไหนลองสรุปให้ฟังซิ (พ่อพูดถึงเอกสารเกี่ยวกับงบการเงินของบริษัท mno - ชื่อสมมติ - ที่ผมยื่นให้เป็นชิ้นแรก)
ผม: อันนี้งบการเงินนะพ่อ โดยสรุปคือ บริษัทนี้ยังมีหนี้อยู่ เพิ่มทุนไปแล้วครั้งแรกทำให้หนี้สินน้อยลง แต่ยังไม่หมดดี ยังมีโอกาสที่จะเพิ่มทุนอีกเป็นครั้งที่สอง แต่ดูไม่ดีนักที่การเพิ่มทุนเป็นเรื่องของการใช้หนี้
พ่อ: อืมม์... แล้วถ้าไม่เพิ่มทุนครั้งที่สอง เมื่อไรจะใช้หนี้หมด พ่อว่า จริงๆ แล้วไม่มีใครเขาเพิ่มทุนกันง่ายๆ หรอกนะ เพราะเจ้าของเดิมก็ต้องเอาเงินมาเพิ่มด้วย ไม่งั้นสัดส่วนการถือหุ้นก็จะน้อยลงไปใช่ไหมล่ะ?
ผม: ใช่ครับ จริงๆ แล้วการเพิ่มทุนก็รบกวนผู้ถือหุ้นเดิมอย่างที่พ่อว่านั่นแหละ ไม่มีใครชอบแน่ๆเลย หุ้นก็เพิ่มขึ้นเยอะ เกิดไดลูทอีก นอกจากกู้ที่ไหนไม่ได้แล้วหรือไม่ค่อยอยากคิดเรื่องการแบกภาระหนี้สินเท่านั้น ถึงดุ่ยๆ เพิ่มทุนเอา
พ่อ: เอางี้ ไหนลองดูซิว่า ถ้าไม่เพิ่มทุน แล้วหนี้ที่มีอยู่มันดอกเบี้ยเท่าไร กำไรที่หาได้ตอนนี้ หรือตอนหน้า ใช้ดอกเบี้ยพอหรือเปล่า นี่เอาแค่ดอกเบี้ยก่อนนะ ยังไม่ต้องใช้เงินต้น (พ่อยิ้มแล้วก็พูดต่อ...) อย่างนี้เจ้าหนี้ยิ้มไปเลย ถ้าได้ดอกเบี้ย
ผม: กำไรก็พอมีนะครับ ราวๆ สักสามสี่เท่าของที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยได้
พ่อ: โห... ไม่ไหวมั้ง ถ้าสักเจ็ดแปดเท่าน่าจะดีกว่านี้เยอะ
ผม: ใช่ๆ แต่อย่างว่าแหละพ่อ เจ้าสินค้านี้มันกำไรไม่มาก จะขึ้นราคาตามใจก็ไม่ได้มียี่ห้ออะไรชักจูงลูกค้าอีก
พ่อ: อืมม์... พวกนี้ขึ้นกับ demand/supply (อุปสงค์/อุปทาน) นั่นแหละ แต่ตอนนี้มันก็ติดที่รัฐอาจจะควบคุมราคาอยู่ ลำบากหน่อย แต่อย่างว่าแหละ ถ้าขึ้นราคาของพวกนี้ตามใจ ประเทศก็แย่ ค่าใช้จ่ายรัฐก็มาก ไม่ดีหรอก เขาก็ต้องควบคุม

ถึงตรงนี้พ่อกำลังสอนผมว่าให้คิดถึงคนอื่นด้วย การที่เราจะรวยคนเดียว ไม่คิดถึงใคร ไม่คิดถึงคนที่เดือดร้อนที่เป็นส่วนใหญ่ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เรียกว่านอนไม่หลับเต็มตาก็ได้ เพราะเบียดเบียนคนอื่นไว้ แล้วพ่อก็ถามต่อ

พ่อ: แล้ว p/e เท่าไรล่ะ? ในเอกสารเขาบอกไว้ว่าเท่าไร แกว่าเขาคิดถูกหรือเปล่า
ผม: ปีนี้ก็น่าจะราวๆ 20 นะครับ ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คือยอดขายและอัตรากำไรเท่าเดิม เพราะดูเหมือนบริษัทไม่ได้วางแผนใช้จ่ายเงินอะไรเพิ่มในระยะนี้ และไม่ได้มีกำไรพิเศษด้วย เขาก็คิดมาไกล้เคียงกับที่ผมประมาณน่ะพ่อ สำหรับปีนี้นะ ปีหน้าไม่รู้จริงๆ มันเป็นเรื่องอนาคต ฮ่าๆๆ (ผมพูดพร้อมกับหัวเราะ)
พ่อ: (พูดสวนมาทันที) เฮ้ย! กำไรพิเศษไม่พูดถึงสิ มันได้กันครั้งเดียว ถ้าไม่ได้มากมายขนาดไปทำอะไรได้ถาวร หรือใช้หนี้ให้หมดไปได้มากๆ ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรนัก ระยะยาวแล้วพวกนี้ไม่เกี่ยวหรอก
ผม: ใช่พ่อ ได้มาครั้งเดียว บางทีนิดๆ หน่อยๆ เราก็ตื่นเต้นกันไปได้มาก สุดท้ายหลายบริษัทก็กลับไปขาดทุนอีกก็มี ถ้าพื้นฐานของสินค้า บริการ และต้นทุนไม่แน่นพอ จริงๆ แล้วเราเห็นกันได้บ่อยๆ ด้วยซ้ำไป มีเยอะพ่อ พ่อก็เห็น
พ่อ: เออสิ ถึงไม่ต้องไปสนใจมากไง อ่ะ มาดูต่อ แล้วมูลค่าทางบัญชีเท่าไรล่ะ?
ผม: ราวๆ ครึ่งหนึ่งของราคาหุ้นครับ
พ่อ: (เงียบไปหนึ่งวินาที) อะไรนะ p/e เกือบยี่สิบกับ p/bv เกือบสองเนี่ยนะ ทำไมแพงจัง ราคาอยู่อย่างนี้ได้ไงเนี่ย มีวอลลุ่มหรือเปล่า ซื้อขายวันละมากไหม

พ่อถามตรงนี้เพราะพ่อรู้ว่า โดยทั่วไปหุ้นที่สภาพคล่องต่ำ ราคาจะขยับไปมาได้มาก แต่หากสภาพคล่องสูง ราคาจะกระโดดไปมาไม่ได้มากนักหากไม่มีโวลลุ่มมาประกอบ อันนี้ว่ากันโดยทั่วไปนะ แต่หากเป็นหุ้นที่มี "ความนิยม" ที่เข้ามาซื้อขายกันมาก หุ้นที่สภาพคล่องสูงๆ ก็อาจจะถูก "พา" ให้ราคาเปลี่ยนแปลงไปได้มากเช่นกัน

ผม: สภาพคล่องเยอะนะพ่อ เพราะว่าราคาไม่กี่บาท (คนทั่วไปมักเรียกว่าไม่แพง แต่จริงๆ แล้วเป็นคนละเรื่องกับความถูกหรือแพงของหุ้นตามผลตอบแทน อันนี้พ่อรู้ดีว่าหุ้นราคา 80 สตางค์อาจจะแพงกว่าหุ้นราคาสองร้อยบาทอยู่มากๆ ก็ได้) คนก็เข้ามาซื้อขายเยอะ
พ่อ: แพงไปหน่อยนะ หนี้ก็มี สินค้าก็เป็นของทั่วไป ซื้อของใครก็ได้ถ้าไม่ถึงกับขาดตลาด จะเพิ่มทุนหรือเปล่ายังไม่รู้เลย ทำไม p/e ยี่สิบนี่ยังมีคนมาซื้ออีก
ผม: อาจจะเก็งกำไรก็ได้นะ
พ่อ: เก็งอนาคตน่ะสิ อย่างนี้ไม่เรียกว่าซื้ออนาคตไปหน่อยหรือ? อนาคตดีขึ้นสองเท่า ยังแพงไปนิดเลย ไม่พูดถึงหนี้ที่เหลือนะ แล้วราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นสองเท่าได้ที่ไหนเล่า นอกจากจะเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น
ผม: นั่นน่ะสิครับ (ผมพูดพร้อมกับยื่นเอกสารให้พ่ออีกสองสามแผ่น) อาจจะเพราะเจ้านี่ก็ได้ ที่มีนักวิเคราะห์เขาให้ความเห็นว่าราคาเหมาะสมมันอาจจะสูงกว่านี้อยู่เฉียดๆ สองเท่าน่ะ
พ่อ: ไหนดูหน่อย

พ่อหยิบไปอ่าน อ่านแบบอ่านออกเสียงด้วยนะ ดีนะที่พ่อไม่แกล้งอ่านผิดแล้วให้ผมท้วง ประมาณว่าถ้าผมไม่ท้วงแสดงว่าไม่ได้อ่านมาก่อน แต่ขอโทษทีนะพ่อ... เรื่องหุ้นนี่ผมชอบอ่านอยู่แล้ว ไม่เหมือนกับหนังสือวิชาคำนวณที่พ่อจ้ำจี้จ้ำไชสอนผมตอนผมอยู่ประถมแต่ผมก็ไม่สนใจเพราะห่วงเล่นอยู่หรอก (ตอนนั้นรักก็รักพ่อนะ กลัวก็กลัว เพราะพ่อสอนเอาจริงเอาจัง อันไหนคิดไม่ออก หรือคิดช้าอาจจะโดนดุเอาได้ง่ายๆ) แต่จะว่าไป ผมนี่แหละเป็นหนี้ชีวิตพ่ออย่างทดแทนไม่ได้หรอก แบบว่าจะรีไฟแนนซ์กี่รอบก็คงใช้ไม่หมดครับ ไม่ได้พ่อและแม่ ผมจะได้เรียนดีๆ เป็นผู้คนอย่างนี้ได้อย่างไร (ฮ่าๆๆ ขอยอมรับสภาพหนี้และชดใช้ไปเรื่อยๆ จ้ะ) แล้วพ่อก็ถามผมต่อ

พ่อ: แล้วแกเชื่อไหมล่ะ
ผม: ผมไม่ค่อยเชื่อนะพ่อ เงื่อนไขมันเยอะเหลือเกินที่จะได้อย่างนั้น อีกสองอย่างที่น่าสงสัยแต่ผมยังหาข้อมูลไม่ได้ ก็คือเรื่องการขาดทุนที่ทำให้มีหนี้สินนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร และก็อนาคตเรื่องของยอดขายอีก ว่าจะดีอย่างนี้ได้เรื่อยๆ หรือเปล่า
พ่อ: ใช่ๆ อย่างยอดขายเขาบอกว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 50% แล้วกำไร.... (อันนี้พ่อเริ่มคิดในใจแล้ว ราวๆ กับว่าประมาณตัวเลขของกำไรที่จะได้ กับหนี้สินที่มีอยู่ บวกกับดอกเบี้ยอีก แล้วก็พูดต่อ) ราคาหุ้นมันไม่น่าจะขึ้นมาสองเท่าได้ง่ายๆ เลยนะ ยิ่งมีเรื่องหนี้กับความเสี่ยงเรื่องเพิ่มทุนอีก แล้วราคามันจะเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าง่ายๆ ได้ไง
ผม: นั่นน่ะสิพ่อ ผมว่านะ เราคอยดูหุ้นตัวนี้ก่อนก็แล้วกันนะครับ อย่าเพิ่งรีบซื้อมันเลย
พ่อ: อืมม์ พ่อก็ว่างั้นแหละ ก็ไม่เป็นไร ดีแล้วที่เราได้มาดูตัวเลขพวกนี้ แกเอาเอกสารนี่ไว้ให้พ่อก่อนก็แล้วกัน
ผม: ได้พ่อ พ่อเอาไว้เถอะ ไว้อ่านเล่นๆ ผมหาได้จากอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วครับ

นับจากวันที่ผมได้ดูหุ้นตัวนั้นกับพ่อ จนถึงวันนี้ หุ้นตัวนั้นราคาตกลงมากว่า 20% และเคยตกต่ำสุดไปถึงกว่า 30% และยังไม่ไกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์ได้บอกไว้เลย

วันหนึ่งผมนั่งดูทีวีอยู่กับพ่อ ในวันที่ไปเยี่ยมตามปกติ ผมก็ชวนพ่อคุยเรื่องหุ้นตัวหนึ่ง เป็นหุ้นมาร์เก็ตแคปขนาดค่อนข้างใหญ่ สภาพคล่องปานกลาง ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเองและส่งออกขายยังต่างประเทศด้วย ประกอบกับผมเคยพบผู้บริหารของบริษัทนี้ ซึ่งทีแรกแล้วดูเหมือนว่าเป็นเพียงบริษัทครอบครัว (ก็เป็นบริษัทครอบครัวจริงๆ นั่นแหละ) แต่ก็มีบางอย่างที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องของการพยายามพัฒนาคนในครอบครัวให้มีความรู้เรื่องธุรกิจเป็นอย่างดี ที่สำคัญคือ เรื่องราวของการซื้อหุ้นตัวนี้ ได้ให้ข้อคิดทางด้านเทคนิคกับผมบางอย่าง (ไม่ใช่เทคนิคอลนะครับ ผมยอมรับว่าไม่สันทัดเรื่องนั้น)

ผม: พ่อสนใจหุ้นของบริษัท jkl (ชื่อสมมติครับ อย่าไปตามหานะ) บ้างหรือเปล่า?
พ่อ: อืมม์... เคยได้ยินชื่อ แต่ไม่แน่ใจว่าทำอะไร
ผม: ก็ทำ - - - (ขออนุญาตเว้นไว้ครับ ถ้าบอกไปจะเป็นการบอกบริษัท) ครับ ตอนนี้มีโรงงานใหญ่มาก ส่งออกไปหลายประเทศด้วย และกำลังขยายตลาดเพิ่มอีก เพื่อส่งออกไปหลายประเทศมากขึ้นด้วยครับ
พ่อ: ไหนเอาข้อมูลมาดูหน่อยสิ ตอนนี้ราคาเท่าไร กำไรดีไหม ที่ผ่านๆ มา แล้วก็อนาคตน่าจะเป็นอย่างไร โบร๊กเกอร์แกมีข้อมูลอะไรบ้าง

พ่อรัวถามเป็นชุด
แต่ด้วยความที่พ่อเป็นพ่อผมมาสามสิบกว่าปี ผมเลยรู้ทัน ผมหยิบข้อมูลที่พิมพ์มาอ่านเล่น (เผื่อพ่อไม่สนใจ - ก็กะว่าจะซื้อเองล่ะ) ตอนไปคุยกับพ่อยื่นให้

ผม: แหะๆ นี่ครับ รู้แล้วว่าพ่อต้องถาม
พ่อ: ถามสิฟะ จะซื้ออะไรลงทุนอะไร ก็ต้องดูตาม้าตาเรือบ้าง ต้องศึกษาให้ดี เราไม่ดูถูกเงินนะลูก ไอ้ซื้อส่งเดชน่ะไม่ได้กลัวขาดทุนนะ แต่ไม่อยากมาเจ็บใจทีหลังว่าไปซื้ออะไรก็ไม่รู้ต่างหาก

พ่อให้ความสำคัญใน "วิธีการ" และ "หลักการ" ในการที่เราจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ดูแต่ที่ผลของมันเพียงอย่างเดียว โดยเชื่อว่าถ้าเรามีหลักการ วิธีการที่ถูกต้องและทันกับกาลสมัย เราจะต้องได้ผลงานที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าการลงทุนในหุ้นสามัญ เราต้องการกำไรทั้งจาก Capital Gain และจากเงินปันผล แต่ถ้าเราเลือกไม่ดี ก็จะทำให้เราเสียโอกาสได้ไม่น้อยเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อเราลงทุนเป็นเงินก้อนใหญ่
ผมพูดต่อ

ผม: เงินปันผลเท่าที่ผ่านๆ มาก็อยู่ในระดับ 6-7% เทียบกับราคาตอนนี้ และดูว่าจะเติบโตได้ในอนาคตไปอีก ราคาหุ้นตอนนี้ p/e ต่ำกว่าสิบอยู่พอสมควร และมีเงินสำรองในการทำงานมาก ผู้บริหารมีความรู้ดีในกิจการ และถือหุ้นใหญ่คงไม่หนีไปไหนแน่ๆ มูลค่าหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีก็ไม่ถึงสองเท่าครับ
พ่อ: อืมม์.. แล้วโบร๊กเกอร์ให้ Fair Price เท่าไรล่ะ (พ่อจะเรียกว่า Fair Price แทนคำว่า Target Price ซึ่งผมก็ออกจะเห็นด้วย เพราะ Target ที่ว่านั่น ฟังดูแล้วเหมือนว่าต้องมีใครมา "ทำ" ให้มันถึงราคานั้นมากกว่าด้วยพื้นฐานของมันเอง)
ผม: ก็ขึ้นไปได้อีกราวๆ 20% จากราคาตอนนี้ครับ
พ่อ: แล้วแกว่าไง? เขาวิเคราะห์ไว้ถูกหรือเปล่า
ผม: ก็ไกล้เคียงนะ เราก็ซื้อไว้บ้างก็ได้นี่ครับ ยังไงๆ ปันผลก็มากกว่าดอกเบี้ยธนาคารอยู่และมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ ดูแล้วปัจจัยที่จะมากระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัทก็ไม่น่าจะมากนัก ถึงจะมีก็คงไม่ทำให้ถึงกับขาดทุน และดูจากที่สามารถเติบโตได้อีก ก็น่าจะลองดูได้
พ่อ: อ้ะ ลองดู ยังไงๆ ก็ยังมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง พ่อชอบของที่มีผลิตภัณฑ์เพราะมันจับต้องได้น่ะ แล้วก็เป็นของที่ต้องกินต้องใช้เสียด้วย ลองดูๆ

ผมไม่ได้คุยกับพ่อสองสามวันในระหว่างสัปดาห์ วันหนึ่งพ่อโทรศัพท์เข้าโทรศัพท์มือถือผม แล้วบอกว่าได้เริ่มซื้อหุ้นนั้นแล้ว ไอ้คำว่าลองของพ่อที่คุยกันไว้น่ะ มันไม่น้อยเหมือนกัน ผมมารู้ทีหลังยังตกใจ จริงๆ แล้วเป็นความผิดของผมเหมือนกันที่ว่าไม่ได้วางแผนการซื้อให้พ่อด้วย เพียงแต่บอกว่าให้ซื้อที่ราคาไม่เกินเท่าไรเท่านั้น แต่หลังจากวันแรกที่เข้าไปซื้อหุ้นนั้น มันก็ตกลงมาเรื่อยๆ ชนิดที่เรียกว่าทรงกับทรุด แต่ไม่ทรุดมากนะ เรียกว่าทรุดทีละนิดๆ ให้คอยกังวล จนวันหนึ่งผมไปหาพ่อ เราก็คุยกันเรื่องนี้

ผม: พ่อจะขายหุ้น jkl ออกไปก่อนหรือเปล่าครับ แล้วเราค่อยรับกลับมา (ผมยังคงมั่นใจในการดำเนินการของบริษัทนี้ ถ้าเราขายหุ้นนี้ ซึ่งสำหรับเราถือว่าเป็นหุ้นลงทุนออกไป เราจะต้องรับกลับมา ไม่เช่นนั้นจะเท่ากับเสียของและขาดทุนไปเปล่าๆ)
พ่อ: เฮ้ย ขี้เกียจขาย เก็บมันไว้ก่อน เดี๋ยวลงมาแล้วซื้ออีกหน่อย
ผม: เอางั้นหรือพ่อ (คิดในใจว่าเป็นงั้นไปได้ไงฟะ ผมมาชวนขายขาดทุนแท้ๆ)
พ่อ: เอางั้นแหละ ก็ถ้ามันยังได้กำไรเรื่อยๆ มีปันผล พ่อไม่ขายทิ้งหรอก ขายไปเดี๋ยวขาดทุนฟรี ตอนซื้อกลับไม่ทัน แล้วถ้าราคามันต่ำลงมา แสดงว่าปันผลต่อราคาจะต้องมากขึ้นไม่ใช่หรือ?
ผม: ก็ใช่นะพ่อ เดี๋ยวเราดูมันไปก่อน อย่าเพิ่งซื้อ

หลังจากนั้นอีกสองสัปดาห์ เจ้าหุ้นนั้นมันก็ตกต่ำมาต่อเนื่อง ผมเจอพ่ออีกที พ่อทักทายอารมณ์ดีตามปกติ คุยกันสัพเพเหระ ได้ที่ (ไม่ใช่เมานะครับ) พ่อก็ถามว่า

พ่อ: เฮ้ย! เจ้าหุ้น jkl ทำไมราคามันหล่นมาเรื่อยๆ อย่างนี้ฟะ แกไปหาข้อมูลมาหน่อย จะกำไรขาดทุนน่ะมันไม่เท่าไรหรอก ไม่ขายก็ยังไม่ได้ขาดทุนอะไร แต่ไม่รู้เหตุผลแบบนี้ทำให้เป็นทุกข์นะ พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า "อวิชชา" คือความไม่รู้ ความไม่รู้ทำให้เป็นทุกข์
ผม: รู้แล้วล่ะพ่อ เพราะว่าเจ้าหุ้นตัวนี้เป็นหุ้นที่มีตลาดต่างประเทศเยอะ รายได้ก็ว่ากันเป็นดอลล่าร์ พอเงินไทยแข็งขึ้น คนก็คงกลัวว่ารายได้จะน้อยลง
พ่อ: แล้วมันจะน้อยลงจริงหรือเปล่า รายจ่ายล่ะ จ่ายเป็นเงินไทยหรือไง
ผม: เปล่าครับ วัตถุดิบก็เป็นดอลล่าร์เหมือนกัน แถมยังมีการประกันค่าเงินไว้อีกส่วนหนึ่ง
พ่อ: อ้าว งั้นก็ไม่น่าจะเป็นอะไรนี่นา เอางี้ แสดงว่าที่กลัวๆ กันก็เป็นเพราะเรื่องค่าเงิน ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าจะกระทบมากนัก ยังไงก็ไม่ถึงกับขาดทุนหรือกำไรลดจนจ่ายปันผลไม่ได้ใช่ไหม จะขายตอนนี้ก็ขาดทุนเยอะ ถ้างั้นถือเฟ้ยถือ เดี๋ยวซื้อเพิ่มอีกหน่อย
ผม: ... (ยังไม่รู้จะพูดว่าไง ยอมรับว่าคิดไม่ทัน... ฮ่าๆๆ)

ผมไม่เจอพ่ออีกหนึ่งสัปดาห์ พอมาพบกันอีกครั้งหนึ่งพ่อก็บอกว่าพ่อซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่มที่ราคาต่ำกว่าเดิมราวๆ 15%

พ่อ: พ่อซื้อเจ้า jkl เพิ่มมาอีก . . . หุ้นนะ เก็บๆ เอาไว้
ผม: อ้าว! ซื้อแล้วหรือพ่อ อ่ะ ไม่เป็นไรครับ คงไม่เสียหายหรอก ที่แน่ๆ บริษัทมีกำไรและไม่เจ๊งแน่นอน คิดง่ายๆ เดี๋ยวเราถือรับปันผลเล่นๆ แล้วพอมันเด้งขึ้นมาเท่าทุน เราขายทิ้งก็เท่ากับได้ปันผลฟรีๆ
พ่อ: เอาน่า ดูมันสักพัก ให้โอกาสหน่อย เห็นโตมาได้ตั้งนานนี่นาตามที่แกบอก พื้นฐานบริษัทจะดีเลวมันไม่ได้เปลี่ยนไปเพียงแค่ข้ามวันหรอก มันต้องใช้เวลา อาจจะนานเป็นปีๆ ก็ได้ หุ้นที่ขึ้นๆ ลงๆ นี่เป็นการคาดการณ์อนาคตและซื้อขายอนาคตกันนานๆ บางทีนานเกินไปมากด้วย
ผม: ก็จริงนะพ่อ เห็นราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นลงแต่ละวันแล้วปวดหัว เรียกว่าไม่ได้เป็นไปตามพื้นฐานของมันเลย ธุรกิจอะไรจะเปลี่ยนสภาพได้เร็วขนาดนั้น วิ่งตามข่าวชัดๆ เพราะข่าวไม่ต้องใช้เวลา...

เราถือหุ้นตัวนั้นไว้ จนจ่ายปันผลรอบครึ่งปีมาหนึ่งครั้ง ก่อนหน้านั้น หุ้นราคาตกต่ำสุดลงไปกว่า 30% ของราคาแรกที่เราเข้าซื้อ แต่ว่าเราวางแผนที่จะซื้อหุ้นนี้ในจำนวนเงินหนึ่งๆ จึงไม่ได้เข้าซื้อเพิ่มเติมอีก ปันผลที่ได้ก็เอาเข้าธนาคารแล้วก็ไม่ได้สนใจหุ้นนี้อีกเลย แล้วราคาก็กระเตื้องขึ้นเรื่อยๆ ผมนึกในใจว่า ถ้าวันที่หุ้นตกลงมากว่า 30% นั้น เรายังมีงบประมาณสำหรับหุ้นตัวนี้อยู่ ผมคงต้องบอกให้พ่อซื้อเพิ่มแน่นอน แต่เมื่อเราได้ซื้อมันตามงบประมาณแล้ว ก็จะไม่ซื้อเพิ่มอีก จนราคาหุ้นตัวนี้ค่อยๆ ขยับขึ้นมาเท่าๆ กับราคาทุนเฉลี่ยที่ซื้อเข้ามา เท่ากับได้ปันผลมาฟรีแล้ว โดยใช้เวลาไม่นานนัก สุดท้ายเราก็รู้ว่าเราคิดไม่ผิด และรู้ดีว่าการรอ เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดในหลายขณะ ตลอดจนสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการซื้อหุ้นตัวนี้ก็คือการที่เราวางกลยุทธ์การเข้าซื้อไม่ดีพอ นับว่าเป็นเรื่องที่ผมกับพ่อต่างกันเอามาก เพราะผมจะวางแผนการเข้าซื้อในคนละลักษณะกับพ่อ (โดยเป็นการทะยอยเข้าสะสมในลักษณะกึ่งพื้นฐาน โดยซื้อจำนวนมากขึ้นๆ ที่แนวรับทางพื้นฐานและผลตอบแทน) แต่อาจจะเป็นเพราะว่าพ่อไม่มีโอกาสรู้ราคาเคลื่อนไหวของหุ้นอยู่ตลอดเวลาเหมือนกับผม แต่ข้อเสียนั้นกลับกลายเป็นข้อดีได้ในหลายโอกาส เพราะการที่ไม่ต้องจับจ้องกังวลอยู่ทุกๆ วันนั่นเอง

วันพุธที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

QUOTES -BEAR MARKET

You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets.
Peter Lynch

I've found that when the market's going down and you buy funds wisely, at some point in the future you will be happy. You won't get there by reading 'Now is the time to buy.'
Peter Lynch

I never hesitate to tell a man that I am bullish or bearish. But I do not tell people to buy or sell any particular stock. In a bear market all stocks go down and in a bull market they go up.
Jesse Livermore

Remember, I am neither a bear nor a bull, I am an agnostic opportunist. I want to make money short- and long-term. I want to find good situations and exploit them.
Jim Cramer

วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

LOU SIMPSON'S INVESTMENT PRINCIPLES

Lou Simpson manages his portfolio according to five basic principles. He outlined these timeless principles in GEICO’s 1986 annual report, and he explained them at greater length in an interview with the Washington Post the following year:

1. Think independently. We try to be skeptical of conventional wisdom, he says, and try to avoid the waves of irrational behavior and emotion that periodically engulf Wall Street. We don’t ignore unpopular companies. On the contrary, such situations often present the greatest opportunities.

2. Invest in high-return businesses that are fun for the shareholders. Over the long run, he explains, appreciation in share prices is most directly related to the return the company earns on its shareholders’ investment. Cash flow, which is more difficult to manipulate than reported earnings, is a useful additional yardstick. We ask the following questions in evaluating management: Does management have a substantial stake in the stock of the company? Is management straightforward in dealings with the owners? Is management willing to divest unprofitable operations? Does management use excess cash to repurchase shares? The last may be the most important. Managers who run a profitable business often use excess cash to expand into less profitable endeavors. Repurchase of shares is in many cases a much more advantageous use of surplus resources.

3. Pay only a reasonable price, even for an excellent business. We try to be disciplined in the price we pay for ownership even in a demonstrably superior business. Even the world’s greatest business is not a good investment, he concludes, if the price is too high. The ratio of price to earnings and its inverse, the earnings yield, are useful guages in valuing a company, as is the ratio of price to free cash flow. A helpful comparison is the earnings yield of a company versus the return on a risk-free long-term United States Government obilgation.

4. Invest for the long term. Attempting to guess short-term swings in individual stocks, the stock market, or the economy, he argues, is not likely to produce consistently good results. Short-term developments are too unpredictable. On the other hand, shares of quality companies run for the shareholders stand an excellent chance of providing above-average returns to investors over the long term. Furthermore, moving in and out of stocks frequently has two major disadvantages that will substantially diminish results: transaction costs and taxes. Capital will grow more rapidly if earnings compound with as few interruptions for commissions and tax bites as possible.

5. Do not diversify excessively. An investor is not likely to obtain superior results by buying a broad cross-section of the market, he believes. The more diversification, the more performance is likely to be average, at best. We concentrate our holdings in a few companies that meet our investment criteria. Good investment ideas--that is, companies that meet our criteria--are difficult to find. When we think we have found one, we make a large commitment. The five largest holdings at GEICO account for more than 50 percent of the stock portfolio.

Buffett, also quoted by the Washington Post, Lou has made me a lot of money. Under today’s circumstances, he is the best I know. He has done a lot better than I have done in the last few years. He has seen opportunities I have missed. We have $700 million of our own net worth of $2.4 billion invested in GEICO’s operations, and I have no say whatsoever in how Lou manages the investments. He sticks to his principles. Most people on Wall Street don’t have principles to begin with. And if they have them, they don’t stick to them.





Note: Simpson’s (GEICO) and Lynch’s (Fidelity Magellan) returns are before tax and before management fees, and are stated as a return on equity. Lynch’s returns are before a 3% load to buy into the fund. Berkshire’s returns are after tax and after management fees, and are stated as increases in book value, not market price. The S&P 500 returns are before tax and before management fees, and include reinvested dividends.

จากหนังสือ The Warren Buffett CEO

วันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑

Lucky No.7[โมเดิร์นเทรด vs โชห่วย 2]

จากบล็อกโมเดิร์นเทรด vs โชห่วย http://plamuek-inky-octopuss.blogspot.com/2008/01/vs.html

ผมได้นำเอารูปและบทความเกี่ยวกับร้านโชห่วยที่ยืนหยัดต่อสู้กับ7-elevenได้มาให้ดูกัน ตามที่เคยสัญญาไว้




Lucky No.7


โดย ธานี คำมา [30-10-2007]

ร้านค้าปลีกสมัยใหม่อย่าง 7-eleven แม้จะแทรกตัวแทนที่ร้านโชห่วยแบบไทยๆ มากกว่า 4,000 แห่งแล้วก็ตาม แต่ใช่ว่าร้านเลข 7 นี้จะทำลายร้านแบบดั้งเดิมได้ทุกที่ไป อย่างน้อยก็ที่ร้านของนายหอมจันท์ มั่นใจ ในตัวเมืองจ.นครสวรรค์แห่งนี้ที่มีร้าน 7-eleven มาประชิดแข่งตั้งแต่ปี 2544 หรือ 7 ปีให้หลังที่เขาเปิดร้านมา

ร้านโชห่วยท้องถิ่นนี้ปรับตัวสู้แบบ 360 องศา ไม่ว่าเปิดร้าน 24 ชม. มีสินค้าเหมือนคู่แข่งแถมเพิ่มชนิดหลากหลายกว่า และยังแตกย่อยการขายปลีก เช่น บุหรี่แบ่งขาย บริการส่งถึงบ้าน พร้อมระบบเงินผ่อน

แม้แต่ Drive Thru แบบที่ร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่นิยมก็มีให้เห็นที่ร้านหอมจันท์ ที่สำคัญเจ้าของร้านชี้ผลดีของร้านเซเว่นที่มาเปิดว่ากลายเป็นผลพลอยได้ทำให้คนเข้าร้านมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา: http://www.businessthai.co.th/content.php?data=412438_Photo%20Essay

วันเสาร์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

เล่นหุ้นอย่างไรให้มีความสุข

เป็นเรื่องปกติไปแล้วที่คนเล่นหุ้นมักเครียด บางคนถึงขั้นนอนไม่หลับเพราะกลัวหุ้นตก บางคนเห็นข่าวดีๆมากลัวตกรถก็นอนไม่หลับอีก นับว่าเป็นปัญหาที่คนเล่นหุ้นต้องเคยเจอ

มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำไมถึงเกิดอาการเหล่านั้น คนที่กลัวหุ้นตกเกิดจากความไม่มั่นใจในหุ้นที่ตัวเองซื้อมา การกลัวตกรถก็มาจากความโลภ วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือการทำตัวเป็นนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการ

การที่เราใช้วิธีคิดแบบการทำธุรกิจมาซื้อหุ้นนั้นจะทำให้เรามีความรอบคอบมากขึ้น หาข้อมูล ดูงบการเงิน วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ถ้าลงพื้นที่ให้เห็นกับตาได้ก็ทำ เมื่อรวบรวมทุกอย่างได้จนมากำหนดมูลค่าธุรกิจนั้นๆได้ ก็มาดูราคาบนกระดาน ถ้าถูกกว่ามูลค่าที่เราประเมินได้แสดงว่าคุ้มค่าที่เราจะลงทุน ยิ่งราคาต่ำมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งได้กำไรมากขึ้นเท่านั้น ถ้าซื้อแล้วราคามันยังคงลงต่อไปก็ไม่ต้องกลัวครับ ถ้ามั่นใจว่าทำการบ้านมาดีพอ ถือเป็นโอกาสดีๆในการซื้อเพิ่มได้อีก แพงกว่านี้ยังกล้าซื้อ แล้วเค้าลดราคาให้ทำไมถึงกลัวล่ะ

เมื่อได้บริษัทที่เราต้องการมาแล้ว วิธีที่จะทำให้เรามีความสุขก็คือไปใช้บริการบริษัทของเราครับ ถ้าซื้อหุ้นร้านอาหารก็พาครอบครัวไปนั่งทานข้าวกัน ถ้าเกิดมีลูกค้าเต็มร้าน คุณจะมีความสุขมากๆๆๆๆๆ ถ้าเป็นหุ้นสินค้าอุปโภคบริโภคก็ไปซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แต่เปลี่ยนมาใช้ยี่ห้อที่บริษัทของเราเป็นผู้ผลิตซะ บางทีอยู่บ้านเฉยๆแล้วเห็นโฆษณาจากทีวี หนังสือ หรือจากไหนก็แล้วแต่ ก็ทำให้เรามีความสุขได้ครับ

อยากให้ทุกคนแยกให้ออกว่าราคาบนกระดานเป็นคนละส่วนกับมูลค่าบริษัท เวลาราคาตกพนักงานและผู้บริหารก็ยังคงทำงานตามปกติ แรงไม่ได้ตกไปตามราคาหุ้น ทุกคนต้องทำงานตามหน้าที่ ผู้บริหารมีหน้าบริหารบริษัทให้ดีที่สุด ลูกค้าก็ไม่ได้ซื้อของน้อยลงตามราคาหุ้น ถ้าราคาตกมากๆควรจะต้องมาดูว่าเกิดจากอะไร ถ้าปัญหาไม่ได้มาจากตัวบริษัทก็ยิ้มสู้ ถ้ามีเงินอยู่ถือเป็นโอกาสดีๆที่จะได้เพื่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของครับ

อย่าตกเป็นทาสของราคาที่ขึ้นลง จงเป็นเจ้านายของมัน ถ้าทำไม่ได้ก็ปิดจอเทรดแล้วเอาเวลาไปหาข้อมูลบริษัทเพิ่มหรือไปเยี่ยมกิจการบ้างก็ไม่เลวนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

โมเดิร์นเทรด vs. โชห่วย

วันนี้ขอนำความคิดเห็นของผมเองต่อธุรกิจค้าปลีกและโชห่วยมาโพสต์
โพสต์ใน http://www.doohoon.com/smf/index.php?topic=11683.0 เมื่อวันที่ 2/1/2551

ปัจจุบันโชห่วยซื้อของจาก makro bigc lotus ไปขายในร้านนะครับ ถามว่าคนที่เดือดร้อนจริงๆคือใคร คำตอบไม่ใช่โชห่วย แต่เป็นร้านค้าส่งเจ้าใหญ่ๆในจังหวัดมากกว่าครับ และการที่ห้างเหล่านี้มาเปิดทำให้ร้านโชห่วยมีทางเลือกมากขึ้น ได้ราคาถูกลง เพราะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันทางราคาที่รุนแรงของห้างเหล่านี้ เพราะฉะนั้น makro bigc lotus เป็นประโยชน์ต่อโชห่วย แต่เป็นศัตรูต่อร้านค้าส่งเจ้าใหญ่ๆในจังหวัด

7-11 เป็นคู่แข่งกับ โชห่วยแน่นอน แต่การที่จะไปห้ามหรือตั้งกฎอะไรมากมายจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนมากกว่า ลองคิดดูว่าถ้ากำหนดเวลาเปิดให้เปิดได้แค่8-12ชม. 7-11ต้องเปิดเวลาเดียวกับโชห่วยอยู่แล้ว ไม่เห็นจะช่วยตรงไหน แถมคนที่เค้ากลับบ้านดึกๆ ต้องการหาอะไรรองท้องจะทำยังไงครับ แสงสว่างและผู้คนพลุกพล่านช่วยให้ซอยหายเปลี่ยวได้ ตู้atmจะไม่มีคนไปกดแน่ๆถ้าไม่มีแสงสว่างและผู้คนเดินเข้าออกจาก7-11 ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านข้าวมันไก่หน้า7-11ตอนดึกๆล่ะจะอยู่กันยังไง เงินภาษีที่รัฐจะได้ล่ะ สูญเสียไปขนาดไหน

ผมก็เห็นใจโชห่วยนะครับ แต่ต้องมองหลายๆมุม โชห่วยต้องปรับตัวเข้าสู้ ยังมีหลายๆอย่างที่7-11สู้โชห่วยไม่ได้ เช่นความสัมพันธ์ในชุมชน การแยกขายบุหรี่เป็นตัวๆ หรือแบ่งขายโดยใส่ซองเล็ก เหล้าขาวขายเป็นเป็ก

ผมเคยเห็นในหนังสือมีร้านโชห่วยที่ติดกับ7-11แต่สามารถสู้ได้(ถ้าหาเล่มนั้นเจอจะเอามาให้ดูครับ) เค้าเปิด24ชม.เหมือนกัน ขายบุหรี่แบบแบ่งขาย ขายเหล้าเป็นเป็ก มีสินค้าที่เป็นซองเล็กๆ รับสินค้าฝากขายจากคนในชุมชน(7-11เรียกค่าแรกเข้าแพง) รวมไปถึงเก็บตกลูกค้าจาก7-11 ที่บางทีไม่มีของบางยี่ห้อขาย(7-11จะคัดยี่ห้อที่ขายไม่ดีออกเหลือแต่ยี่ห้อที่ขายดี2-3ยี่ห้อเท่านั้น) เจ้าของร้านยังบอกอีกว่าตั้งแต่7-11มาเปิดร้านของตัวเองขายดีกว่าเดิมซะอีก

โชห่วยได้เปรียบเรื่องความยืดหยุ่นอย่างเห็นได้ชัด ถ้ารู้จักนำสิ่งที่ตัวเองได้เปรียบมาใช้ บางที7-11อาจจะมาช่วยสร้างความคึกคักให้ร้านโชห่วยเล็กๆก็ได้ครับ